ด้วยบริษัทมีนโยบายลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง หรือเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจหลักของบริษัท เพื่อสามารถสร้างผลกำไรให้แก่บริษัทในระยะยาว จึงกำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลการบริหารงานในบริษัทย่อย บริษัทร่วม เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ในเงินลงทุนของบริษัท ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
คำอธิบายเพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ให้มีความหมายเป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
“การกำกับดูแล(กิจการ)” หมายความว่า ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นําไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
“บริษัทย่อย” หมายความว่าบริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
“บริษัทร่วม” หมายความว่า ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอำนาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอำนาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทย่อยมีอำนาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายถึง บุคคลที่อาจทำให้กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการตัดสินใจดำเนินงานว่าจะคำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ ได้แก่
7.1 กรรมการของบริษัท
7.2 ผู้บริหารของบริษัท
7.3 บุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการบริษัท
7.4 กรรมการของบุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการบริษัท
7.5 คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม 7.1 ถึง 7.4
“บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
(ค) ผู้มีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัท
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง บุตร หรือคู่สมรสของบุตร
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอำนาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกต่อจากกรรมการผู้จัดการ(บุคคลที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหารจัดการไม่ว่าจะใช้ชื่อตำแหน่งใดก็ตาม)ลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับเดียวกันกับผู้บริหารรายที่ 4 ทุกคน และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
สำหรับการกำกับดูแลบริหารจัดการบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจหลัก ให้ปฏิบัติตาม “นโยบายการกำกับดูแลบริหารจัดการบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจหลัก” ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทสามารถกำกับดูแลบริษัทอื่นที่บริษัทเข้าไปลงทุน ซึ่งมิได้ประกอบธุรกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้กำหนดแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ดังนี้
บริษัทมีมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เท่านั้น โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทย่อยดังกล่าวต้องไม่มีบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทถือหุ้นในส่วนที่เหลือเกินกว่าร้อยละ 10
การอนุมัติการเข้าลงทุนซื้อหุ้น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าหรือความเป็นไปได้ของการลงทุน หากจำเป็นอาจเสนอให้มีที่ปรึกษาอิสระที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้บริการการประเมินความคุ้มค่าการลงทุนด้วยก็ได้ โดยการประเมินดังกล่าวจะมีขอบเขตและรายละเอียดเพียงใด ให้ฝ่ายบริหารพิจารณาให้เหมาะสมกับโครงการลงทุนดังกล่าว ก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นอนุมัติ (แล้วแต่กรณี) โดยเป็นไปตามขอบเขตอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ
การทำรายการระหว่างกัน หรือบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และทำธุรกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการเงิน กับบุคคลที่เกี่ยวโยงของบริษัท อาทิ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจควบคุม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันนั้น จำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันการถ่ายเทผลประโยชน์ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ บริษัทจึงออกนโยบายเกี่ยวการทำรายการระหว่างกันเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติตาม
“รายการที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า รายการระหว่างบริษัท หรือ บริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท “การตกลงเข้าทำรายการ” หมายความว่า การเข้าไปหรือตกลงใจเข้าทำสัญญา หรือทำความตกลงใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อก่อให้เกิดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ การให้เช่า หรือเช่าทรัพย์สิน การให้หรือรับบริการ การให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน และการออกหลักทรัพย์ใหม่ รวมทั้งเพื่อก่อให้เกิดสิทธิหรือการสละสิทธิในการกระทำดังกล่าว
“บริษัทย่อย” หมายความว่าบริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
“บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่ บริษัท หรือบริษัทย่อยมีอำนาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอำนาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละ20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัท หรือบริษัทย่อยมีอำนาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า
บุคคลที่กระทำการด้วยความเข้าใจหรือความตกลงว่า หากบริษัททำธุรกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่บุคคลดังกล่าว โดยกรรมการ ผู้บริหาร บุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
“ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในนิติบุคคลใดเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
“ผู้มีอำนาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการจัดการ หรือการดำเนินงานของบริษัท อย่างมีนัยสำคัญไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอำนาจตามสัญญาหรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่าบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
“ญาติสนิท” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ดังนี้ บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร
“เงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป” หมายความว่า เงื่อนไขการค้าที่มีราคาและเงื่อนไขที่เป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขการค้าที่มีราคาและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
“รายการธุรกิจปกติ” หมายความว่า รายการทางการค้าที่บริษัท หรือบริษัทย่อยกระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ
“รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ” หมายความว่า รายการทางการค้าซึ่งธุรกิจโดยทั่วไปที่มีลักษณะเดียวกับบริษัท หรือบริษัทย่อยกระทำเพื่อสนับสนุนรายการธุรกิจปกติของตน
“การให้และ/หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน” “การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน” “การรับความช่วยเหลือทางการเงิน” หมายความว่า การให้หรือการรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน การซื้อตั๋วและเงินหรือหุ้นกู้ รวมถึง พฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน
“สินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ” หมายความว่า สินทรัพย์รวมหักด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าความนิยม ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี และหักด้วยหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
“มูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ” หมายความว่า มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท หรือบริษัทย่อยตามที่เปิดเผยในงบการเงิน แล้วแต่กรณี
“ความขัดแย้ง” หมายถึง สถานการณ์ที่ขัดกันไม่ลงรอย เป็นเหตุการณ์อันเกิดขึ้นเมื่อบุคคลไม่สามารถตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้จากความไม่ลงรอยกันในเรื่องความคิดแนวทางปฏิบัติหรือผลประโยชน์
“ผลประโยชน์ส่วนตน” หมายถึงเป็นผลตอบแทนที่บุคคลได้รับโดยเห็นว่ามีคุณค่าที่จะสนองตอบความต้องการของตนเองหรือของกลุ่มที่ตนเองเกี่ยวข้องผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจให้คนเรามีพฤติกรรมต่างๆเพื่อสนองความต้องการทั้งหลาย
“ผลประโยชน์ของบริษัท” หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ให้ประโยชน์แก่บริษัท หรือ กลุ่มบริษัท
“ความขัดแย้งทางผลประโยชน์” หมายถึง การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบริษัท ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือการกระทำที่คณะกรรมการ ผู้บริหาร รวมทั้งพนักงาน ของบริษัทที่มีผลประโยชน์ส่วนตนมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัท ซึ่งการกระทำนั้นอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไปโดยไม่เห็นว่าเป็นความผิด จนส่งผลให้บุคคลนั้นขาดการตัดสินใจที่เที่ยงธรรม เนื่องจากยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก และอาจเกิดส่งผลกระทบกับผลประโยชน์ของบริษัท
รายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทตามนโยบายนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้
รายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท ตามนโยบายนี้ อาจแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่
บริษัท ตระหนักถึงหน้าที่ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศ กำหนด ดังนั้นบริษัท จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการทำรายการระหว่างกัน หรือรายการเกี่ยวโยงกัน ดังนี้
บริษัทมีมาตรการอนุมัติการเข้าทำรายการที่เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ก.ล.ต. โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หมายเหตุ : ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลงบการเงินรวมของบริษัท
หากรายการระหว่างกันเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานตามปกติก็จะปฏิบัติไปตามขั้นตอนของการดำเนินงานตามปกติเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกับรายอื่นๆ โดยจะพิจารณาขนาดรายการและอำนาจในการอนุมัติรายการตามที่ปรากฏในตารางอำนาจดำเนินการ (Table of Authority) โดยจะพิจารณาว่าเป็นรายการค้าปกติ หรือสนับสนุนธุรกิจปกติดังกล่าวนั้น มีความสมเหตุสมผลของการทำรายการ และมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท โดยมีข้อตกลงทางการค้าไม่แตกต่างจากการทำรายการกับลูกค้าทั่วไป หรือ บุคคลภายนอก
หากเปรียบเทียบกับการทำรายการกับบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วจะได้ราคาหรือเงื่อนไขที่ดีกว่านี้หรือไม่
9. การพิจารณาราคาตามเงื่อนไขทางการค้าโดยทั่วไป (ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ)
รายการที่เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปคือเงื่อนไขการค้าที่มีราคาและเงื่อนไขที่เป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ โดย
10. วิธีการนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการทำรายการเกี่ยวโยงกัน
กรณีที่เป็นการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันที่อยู่ภายใต้อำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ ฝ่ายจัดการจะเป็น
ผู้พิจารณาตัดสินใจ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายขาย แผนกจัดซื้อ หรือ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ผิดชอบในการพิจารณาการทำรายการต่างๆ ตามขั้นตอนการขออนุมัติในระเบียบปฏิบัติ และตามอำนาจดำเนินการของบริษัท ซึ่งภายหลังจากที่ฝ่ายจัดการพิจารณาอนุมัติแล้ว จะต้องนำเสนอเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานความสมเหตุสมผลของรายการเป็นรายไตรมาสและเปิดเผยการทำรายการไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และรายงานประจำปีของบริษัทด้วย นอกจากนี้ ต้องดำเนินการให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันไม่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติรายการไม่เข้าร่วมประชุม และไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
กรณีที่มีการทำรายการเกี่ยวโยงกันที่เป็นรายการขนาดเล็ก และขนาดกลาง ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าปกติ ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายที่เป็นต้นเรื่องต้องนำเสนอรายละเอียดความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการดังกล่าวก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติเพื่อเข้าทำรายการ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
กรณีที่เป็นการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันที่อยู่ภายใต้อำนาจอนุมัติของผู้ถือหุ้นให้ฝ่ายที่เป็นต้นเรื่องนำเสนอรายละเอียดความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการเพื่อขอความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขอความเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
หน่วยงานต้นเรื่องทำสรุปรายละเอียดในการทำรายการและจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อนำเสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
หมายเหตุ : ก่อนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน เพื่ออนุมัติรายการระหว่างกัน ซึ่งประกอบด้วย
โดยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการเข้าทำรายการในการนี้ ต้องมีมติที่ประชุมเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้เข้าประชุม ในการเข้าประชุม คณะกรรมการต้องมีไม่น้อยกว่า 5 ใน 7 จึงจะจัดให้มีการประชุมและอนุมัติให้ทำรายการนั้นได้ และต้องดำเนินการให้กรรมการที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันไม่เข้าร่วมประชุม และไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
11.การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์บนหลักการที่ว่าการตัดสินใจใดๆในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเท่านั้นและควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์โดยกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับรายการที่พิจารณาต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงความสัมพันธ์หรือการมีส่วนได้เสียของตนในรายการดังกล่าวและต้องไม่เข้าร่วมพิจารณาตัดสินใจรวมถึงไม่อนุมัติในธุรกรรมนั้นๆ
นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีดังนี้
1.หลักการและเหตุผล
ในการลงทุนทำธุรกิจของผู้ถือหุ้นภายใต้การบริหารของบริษัท โดยกำหนดให้มีการตอบแทนผู้ถือหุ้นเป็น เงินปันผลนั้น บริษัทจึงกำหนดให้มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลตามผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น
2.คำอธิบายคำศัพท์
“เงินปันผล” หมายถึง ค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ โดยจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) และ/หรือ ค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่ม (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว)
“เงินปันผลระหว่างกาล” หมายถึง เมื่อใดที่บริษัทดำเนินงานมีผลกำไร (กำไรสะสม) คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติให้มีการจ่ายค่าตอบแทนหรือเงินปันผลระหว่างกาล ให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ โดยจะต้องแจ้งให้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวถัดไปทันที
“ภาษี” หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศ
“เงินทุนสำรอง” หมายถึง จำนวนเงินที่บริษัทจัดสรรจากกำไรไว้เป็นทุนสำรองตามนัย มาตรา 1202 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
“เงินทุนหมุนเวียน” หมายถึง เงินทุนที่บริษัทต้องมีสำรองไว้ใช้หมุนเวียน ตั้งแต่บริษัทเริ่มจ่ายเงินสดในการชำระค่าสินค้า/วัตถุดิบหรือชำระหนี้คืนเจ้าหนี้การค้า และจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่างๆ จนกว่าบริษัทจะได้รับเงินสดจากการขายสินค้าหรือบริการ หรือรับชำระเงินจากลูกหนี้การค้า (โดยไม่นับรวมถึงการซื้อสินทรัพย์ เช่น อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น) เพื่อให้กิจการสามารถขายสินค้าและบริการได้ตามเป้าหมาย
3. นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัท อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นกับกระแสเงินสด แผนการลงทุน เงื่อนไขทางกฎหมาย โดยบริษัทคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ในอนาคต และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่าง มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ มติคณะกรรมการของบริษัทที่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้หากเห็นว่ามีความเหมาะสมและ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท และจะต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวถัดไป
นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย
นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยให้แก่ผู้ถือหุ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัทย่อย อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นกับกระแสเงินสด แผนการลงทุน เงื่อนไขทางกฎหมาย โดยบริษัทย่อยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ในอนาคต และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทย่อยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริษัทย่อยที่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย เพื่อขออนุมัติ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทย่อยมีอำนาจในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้หากเห็นว่ามีความเหมาะสมและไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทย่อยและจะต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ ในการประชุมคราวถัดไป ทั้งนี้ ในข้อบังคับบริษัทย่อยยังมีการกำหนดให้กรณีที่บริษัทย่อยจะจ่ายเงินปันผลต่ำกว่านโยบายการจ่ายเงินปันผลที่กำหนดไว้ บริษัทย่อยจะต้องเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทใหญ่”) เสียก่อน จึงจะสามารถพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทย่อยหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย (แล้วแต่กรณี)
บริษัทอรสิรินโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายในให้เป็นไปตามหลักกการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม และจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้มีนโยบายการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯ สำหรับการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอกตลอดจนสื่อสารให้พนักงานในองค์กรรับทราบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและเพื่อให้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งรวมถึงความเข้าใจของคณะกรรมการในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโอกาสและความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ
“ข้อมูลภายในบริษัทฯ” หมายถึง
“บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
“อำนาจควบคุมกิจการ” หมายความว่าการมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทฯ เกินกว่าร้อยละ 50 (ห้าสิบ) ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด
(ค) การมีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
“หลักทรัพย์” หมายถึง ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
บริษัทฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อความโปร่งใสและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนจึงได้กำหนดนโยบายการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯดังนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดบทลงโทษทางวินัยหากมีการฝ่าฝืนนำข้อมูลภายในไปใช้หาประโยชน์ส่วนตนซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือให้ออกจากงาน ซึ่งการลงโทษจะพิจารณาจากเจตนาของการกระทำและความร้ายแรงของความผิดนั้น
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Policy)
อรสิริน มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณอรสิริน ในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้น อรสิริน ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และมุ่งมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนและปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) รวมถึงมุ่งมั่นในการดำเนินการตามจรรยาบรรณ และนโยบายว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่บริษัทประกาศใช้
เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของอรสิรินปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกิจกรรมทางธุรกิจของ อรสิริน (Direct Activity) รวมถึงคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ขอบเขตการดำเนินการ
นโยบายฉบับนี้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติมีผลบังคับสำหรับคณะกรรมการบริหาร ฝ่ายบริหาร พนักงาน รวมถึงคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคคลที่มิใช่พนักงานแต่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแทน หรือเป็นตัวแทนของบริษัท และข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนนี้ใช้สำหรับทุกกิจกรรมของอรสิริน (กิจกรรมทางธุรกิจโดยตรง สินค้าและบริการ) ที่อรสิรินมีอำนาจในการบริหาร เช่น กิจการของอรสิริน บริษัทที่อรสิรินถือหุ้นทั้งหมด บริษัทย่อย
อรสิรินมุ่งหวังและส่งเสริมให้คู่ธุรกิจของอรสิริน ที่อรสิรินไม่มีอำนาจในการบริหาร เช่น บริษัทร่วมและบริษัทที่อรสิรินร่วมลงทุนอื่นๆ รวมถึง คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ สนับสนุนและปฏิบัติตามแนวนโยบายนี้
นิยามศัพท์ที่ใช้กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายความว่า สิทธิที่มีโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ถิ่นกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติ รวมถึง สิทธิในการดำรงชีวิตและเสรีภาพ การพ้นจากการเป็นทาสและการทรมาน การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิด การใช้แรงงานบังคับและการใช้แรงงานเด็ก การมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อิสระในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง สิทธิในการทำงาน ชั่วโมงการทำงาน การได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม การศึกษา และสิทธิอื่นๆ เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สุขภาพและความปลอดภัย ชนกลุ่มน้อยในชุมชนท้องถิ่น และสิทธิชุมชน โดยทุกคนมีสิทธิต่างๆ เหล่านี้อย่างเท่าเทียม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) หมายความว่า การปฏิบัติและการดูแลต่อบุคคลอย่างไม่เท่าเทียม โดยการเพิ่มภาระ หรือไม่ให้สิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียม แทนที่จะปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเป็นธรรมตามพื้นฐานที่แต่ละบุคคลควรได้รับ ซึ่งการเลือกปฏิบัติอาจรวมถึงการล่วงละเมิดด้วย
การล่วงละเมิด (Harassment) หมายความว่า การแสดงความเห็น หรือการกระทำที่ไม่พึงปรารถนา หรือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าไม่เป็นที่พึงปรารถนาต่อบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย การล่วงละเมิดที่ไม่ใช่ทางเพศอาจรวมถึงการรวมกลุ่มประณามว่าร้าย และการข่มเหงรังแก เป็นต้น ในขณะที่การล่วงละเมิดทางเพศจะมีองค์ประกอบทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง
แรงงานเด็ก หมายความว่า เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด (บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ) ซึ่งการใช้แรงงานเด็ก หมายถึงการทำงานใดๆ ที่กระทำโดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่าอายุเด็กที่ระบุในคำนิยามข้างต้น
กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) หมายความว่า บุคคลที่ขาดความสามารถในการปกป้องสิทธิและประโยชน์ของตน เนื่องจากขาดอำนาจ การศึกษา ทรัพยากร ความเข้มแข็ง หรืออื่น ๆ และมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้หญิง ผู้พิการ เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานอพยพ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) แรงงานของคู่ธุรกิจ คู่ธุรกิจ และชุมชน เป็นต้น
อรสิริน หมายความว่า บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยของบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ตามงบการเงินรวม
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานอรสิรินทุกระดับ ต้องตระหนักถึงความสำคัญและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้านของบุคคลทุกคน ตลอดจนสังคมและชุมชน ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติ โดยรวมถึง
แนวทางปฏิบัติ
Copyright © 2016 – 2022 Ornsirin Group โครงการคุณภาพสำหรับคุณ. All Rights Reserved.
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยอันเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ กลุ่มบริษัทอรสิรินจำกัด (บริษัทฯ) ได้เห็นความสำคัญของความเป็นส่วนตัวของกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลากรและลูกค้า รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่านได้ทราบถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท บริษัทจึงได้ประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้คือ
2. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.1 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
ใช้บังคับในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญาที่มีบริษัทเป็นคู่สัญญา และให้รวมไปถึงข้อมูลที่บริษัทได้รับมาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยบริษัทจะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย และจะดำเนินการปฏิบัติเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นหลักสำคัญโดยวิธีการอันเปิดเผย และเป็นธรรม ซึ่งการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทจะดำเนินการภายใต้ความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และจะดำเนินการเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การให้บริการภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้คือ:-
2.1.1 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล , พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน , ประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา , ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา รวมไปถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
2.1.3 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งการขอความยินยอมไม่อาจกระทำได้ในเวลานั้น
2.1.4 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท
2.1.5 เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
2.1.6 เป็นการดำเนินการเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีฐานะเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น ๆ
2.1.7 เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปฏิบัติงานตามสัญญาเพื่อยื่นขออนุมัติจากสถาบันการเงิน
2.1.8 เป็นการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อการศึกษา วิจัย การจัดทำสถิติ ซึ่งได้จัดให้มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
2.2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายใต้มาตราการป้องกัน โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวบริษัทจะใช้เพื่อการติดต่อและเสนอบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อยื่นข้อเสนออื่น ๆ อันเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทหรือบริษัทภายในเครือ และใช้เพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และจดหมายข่าวต่าง ๆ ให้กับเจ้าของข้อมูลได้รับทราบและบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคคลไว้ภายใต้มาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลากรของบริษัทปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และจะดำเนินการป้องกันมิให้ข้อมูลสูญหาย หรือถูกนำไปเปิดเผยโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูล หรือนำไปหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยเด็ดขาด
2.3 สิทธิและความประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของข้อมูล
บริษัทจะเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคล หรือยินยอมให้มีการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัททำการเก็บรักษาไว้ก็ต่อเมื่อบริษัทได้รับการแจ้งความประสงค์มาจากเจ้าของข้อมูล ผู้สืบสิทธิ ทายาทตามกฎหมาย ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย โดยผู้ขอเปิดเผยสามารถแจ้งความประสงค์มาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือมายังบริษัทพร้อมกับเอกสารแสดงสิทธิที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
2.4 ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ ไว้ตามกำหนดระยะเวลาการใช้งานข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความประสงค์ให้บริษัททำการโอน ลบ หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ เสีย เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะแจ้งให้บริษัททราบทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งมายังบริษัทโดยทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งบริษัทจะดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินงานภายในบริษัท
3. มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท
บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจึงกำหนดให้มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไขหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
3.1 ด้านหลักเกณฑ์ทั่วไปของบริษัท
3.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้รับมาจากทางสื่อออนไลน์ หรือจากการทำสัญญาต่าง ๆ เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลอื่นใดอันสามารถบ่งบอกตัวตนของบุคคลได้ จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงไว้กับบริษัท และบริษัทจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าว
3.1.2 หากบริษัทเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและขอความยินยอมทุกครั้งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือประกาศในเว็บไซต์ของบริษัทไม่น้อยกว่า 30 วัน
พร้อมกันนี้บริษัทจะวางมาตรการกำหนดให้มีการบันทึกการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ไว้เป็นหลักฐานด้วย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น
3.1.3 บริษัทจะทำการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายในฐานข้อมูลของบริษัท ทั้งนี้เพียงเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามสัญญาและการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น และเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้พ้นระยะเวลาการใช้งานไปแล้ว หรือได้พ้นระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลประจำหน่วนงานไปแล้ว บริษัทจะทำการลบและทำลายข้อมูลดังกล่าวตามมาตรการและแนวปฏิบัติที่บริษัทได้วางไว้
3.1.4 ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลอันเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บไว้ภายในบริษัท บริษัทจะควบคุมการดำเนินการของหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกนั้น ๆ โดยเคร่งครัด และวางมาตรการป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด