ด้วยคณะกรรมการบริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้งได้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีภายในประเทศ จึงกำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำไปปฏิบัติ
“กิจการที่ดี (Good Governance)” หมายถึง ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการคณะกรรมการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโต และคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นประกอบ
“ผู้ลงทุน (Investor)” หมายถึง ผู้ออกเงินเป็นทุนเพื่อหาผลกำไร
“ผู้ถือหุ้น (Shareholder)” หมายถึง ผู้ถือหุ้นอยู่ในธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ห้างหุ้นส่วน จำกัด บริษัทเอกชน จำกัด หรือ บริษัทมหาชน จำกัด และผู้ถือหุ้นเป็นผู้ได้ประโยชน์ (Shareholder) ที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ เป็นผู้ได้ประโยชน์ชั้นในสุดของธุรกิจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตหรือการอยู่รอดของธุรกิจมากที่สุด การบริหารธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญและให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์จากธุรกิจอย่างยุติธรรม หรือมีจริยธรรมทางธุรกิจ
“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” หมายถึง บุคคล และกลุ่มบุคคล ที่เพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร หรือสนใจหรือรับผลกระทบจาก กิจกรรมของบริษัท
“คู่ค้า” หมายถึง การรวมกลุ่มเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน หรือเพื่อเจรจาทำความตกลงกัน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับทั้ง 2 ฝ่าย
“ผู้รับมอบฉันทะ” หมายถึง ตัวแทนที่กระทำการแทนตัวการได้เฉพาะเรื่องที่ได้รับมอบหมายเป็นคราวๆ ไป
“ข้อมูล” หมายถึง
“ค่าตอบแทน” หมายถึง การให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน เงินชดเชย หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่บริษัท ให้แก่บุคลากรเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของบุคคล
คณะกรรมการบริษัทเห็นความสำคัญในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินกิจการของบริษัทให้สามารถเติบโต รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่า และผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายในระยะยาว โดยยึดหลักตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 หรือ Corporate Governance Code for listed companies 2017 ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัท เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัท มาปรับใช้ซึ่งประกอบไปด้วยหลักปฏิบัติ 8 หลัก ดังนี้
หลักปฏิบัติ 1 บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
หลักปฏิบัติ 4 สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
หลักปฏิบัติ 5 ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
หลักปฏิบัติ 6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
หลักปฏิบัติ 7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
หลักปฏิบัติ 8 สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของ บริษัทและกลุ่มบริษัทเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมตลอดจนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายที่บริษัทได้เข้าร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบใน “โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” คณะกรรมการบริษัทจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำ “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน” เพื่อมุ่งหมายให้บุคลากรทุกคนในองค์กร รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของบริษัทและกลุ่มบริษัท และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของเจตนารมณ์ดังกล่าว
“ทุจริต” หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อาทิ การทำหลักฐานการเงินเป็นเท็จ นำทรัพย์สินของบริษัทฯ หรือกลุ่มบริษัทไปใช้ส่วนตัว การเบียดบัง การยักยอก การฉ้อโกง การกระทำในลักษณะที่มีการขันกันของผลประโยชน์
“ การบริจาคเพื่อการกุศล” หมายถึง การบริจาคเงิน สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถคำนวณได้เป็นตัวเงินให้กับองค์กรสาธารณะกุศล โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
“เงินสนับสนุน” หมายถึง เงินที่จ่ายให้หรือได้รับ สิ่งของที่ให้หรือได้รับ หรือผลตอบแทนอื่นใดที่ให้หรือได้รับ ซึ่งอาจจะคำนวณได้เป็นตัวเงิน จากลูกค้า คู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจตราสินค้า หรือชื่อเสียงของกลุ่มบริษัทเพื่อประโยชน์การสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้าช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจและให้ในโอกาสที่เหมาะสม
นโยบายฉบับนี้ใช้บังคับกับบุคลากรของบริษัทและกลุ่มบริษัท รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัท
บริษัทและกลุ่มบริษัทมีนโยบายห้ามกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างกระทำการอันใดที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้รับ ผู้ให้ หรือเสนอให้สินบนแก่บุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง และให้มีการสอบทานนโยบายและแนวปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนการกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อพิจารณาเรื่องที่ได้รับร้องเรียนด้วยความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม โดยผ่านช่องทางการรับเรื่องที่ได้กำหนดไว้ดังนี้
ผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน (ชื่อหรือตำแหน่งผู้ถูกร้องเรียนการกระทำความผิดที่พบเห็น เวลาที่เห็นการกระความผิด) พร้อมชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ของผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน และส่งมายังช่องทางการรับเรื่องช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ดังนี้
1) แจ้งผ่านช่องทาง อีเมล์ของคณะกรรมการตรวจสอบ audit_committee@ornsirin.co.th
2) แจ้งผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ บริษัท ฯ www.ornsirin.co.th
หัวข้อ “ช่องทางการร้องเรียน”
3) แจ้งผ่านช่องทางส่งทางไปรษณีย์ปิดผนึกถึง
ประธานกรรมการตรวจสอบ
4) แจ้งผ่านช่องทาง“กล่องรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น”
(ตั้งอยู่ภายใน บริษัท : เปิดกล่องได้เฉพาะกรรมการตรวจสอบและ/ หรือเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ)
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลที่กระทำโดยเจตนาสุจริต บริษัทจะปกปิดชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลโดๆ ที่สามารถระบุตัวผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูลได้และเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับโดยจำกัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
ทั้งนี้ผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลข้อร้องเรียน และเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่มีการแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน บริษัทฯ จะทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน พยานและบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ให้ได้รับความเดือนร้อนหรือความไม่ชอบธรรมใดๆ อันเกิดจากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ข้อมูล
หากผู้ที่แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น เป็นบุคลากรของบริษัท หรือกลุ่มบริษัท บริษัทจะให้ความเป็นธรรมในการให้ความคุ้มครองไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบกับบุคลากรท่านนั้นเช่น การลดขั้น หรือตำแหน่ง การลงโทษ เป็นต้น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
บริษัทและกลุ่มบริษัทจัดให้มีกระบวนการในการดำเนินการหากได้รับเบาะแสหรือข้อร้องเรียน โดยกำหนดกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนรับเรื่องร้องเรียน การดำเนินการสืบสวนและบทลงโทษไว้ ดังนี้
1) แจ้งเรื่องร้องเรียน ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียน
2) ผู้รับเรื่องร้องเรียน ผู้ที่รับเรื่องร้องเรียนตามช่องทางที่กำหนดในข้อ 9. ได้แก่
ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ
และเลขานุการผู้รับเรื่อง
3) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเรื่องร้องเรียนและเป็นผลสรุปของการดำเนินการ
ในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
4) คณะทำงานสอบข้อเท็จจริง ประธานกรรมการบริหารแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
ยกเว้นว่า เกี่ยวข้องกับการทุจริตของผู้บริหาร ทางคณะกรรมการ
ตรวจสอบจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
การลงทะเบียนและการส่งเรื่องร้องเรียน
1) ผู้รับเรื่องร้องเรียนส่งเรื่องที่ได้รับร้องเรียนไปยังผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน
2) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนส่งเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนให้แก่คณะทำงานสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำการพิจารณาหรือสืบสวนต่อไป
1) หากเรื่องที่ได้รับร้องเรียนเป็นเรื่องที่คณะทํางานสอบข้อเท็จจริงพิจารณาแล้วเห็นว่า
2) หากเรื่องที่ได้รับร้องเรียนเป็นเรื่องที่คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท
3) หากเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท
1) หากผู้ถูกร้องเรียนมีความผิดจริง ให้บริษัทดำเนินการลงโทษตามระเบียบวินัยของบริษัท และ/หรือดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
2) หากตรวจสอบแล้วเรื่องที่รับแจ้งเป็นเรื่องร้องเรียนที่ไม่สุจริตและผู้ร้องเรียนนั้นเป็นบุคลากรของ บริษัท ให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท
ทั้งนี้กระบวนการสอบสวนต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน (หากไม่สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ภายใน 30 วันดังกล่าว ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนทราบ)
การแจ้งผลสรุปต่อผู้ร้องเรียนและแจ้งเบาะแส
1) คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงส่งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน
2) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนบันทึกผลการดำเนินการลงในทะเบียนข้อร้องเรียน และแจ้งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนนั้น ให้ผู้ร้องเรียนทราบ
3) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนแจ้งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียน รวมทั้งติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) นำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบโดยกำหนดรายงานเป็นรายไตรมาส
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นบริษัท จะดำเนินการดังต่อไปนี้
1) เผยแพร่นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรขององค์กร บุคคลที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2) จัดให้มีการอบรมนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นให้แก่บุคลากรขององค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องปีละ 1 ครั้ง
3) ส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน เพื่อแสดงให้เห็นถึง
ความมุ่งมั่นของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัทฯ ในการดำเนินการตามแนวนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ตามที่บริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อให้พนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน แล้วนั้น เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่มบริษัท มีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายการต่อต้านทุจริต คอร์รัปชั่น จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าใจขอบเขต หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสมในการเบิกจ่ายค่าเลี้ยงรับรองและของขวัญ เลี้ยงรับรอง และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
“ของขวัญ” หมายถึง สิ่งของใดๆ ที่มีมูลค่าทางการเงิน เช่น สิ่งที่ใช้แทนเงินสด สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ (ตั๋วเครื่องบิน คูปองส่วนลดต่างๆ) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร
“การเลี้ยงรับรอง” หมายถึง การเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่ม การแสดง การดูกีฬา การร่วมกิจกรรมกีฬา เช่น การตีกอล์ฟ กิจกรรมสันทนาการ เป็นต้น
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
“ปกติประเพณีนิยม” หมายถึง เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ของขวัญกัน และหมายความรวมถึงโอกาสในการ แสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย (อ้างอิงจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2544)
“CSR (corporate social responsibility)” หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร
“การบริจาค” หมายถึง การสละสิ่งของโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การบริจาคมีได้หลายรูปแบบ รวมถึงการเสนอเงินสด บริการ สินค้าใหม่หรือสินค้าใช้แล้ว
3. ขอบเขตของนโยบาย
นโยบายให้หรือรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง ครอบคลุมถึงการให้หรือรับของขวัญ และการเลี้ยงรับรองกับ
ผู้ร่วมสัญญา หรือธุรกิจด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น ลูกค้า ที่ปรึกษา ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล หรือกิจการอื่นใดที่ทำธุรกิจกับบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้ นโยบายฉบับนี้จะเรียกกลุ่มบุคคลดังกล่าวว่า “ลูกค้า” หรือ “คู่ค้า”
ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่มบริษัท และบุคคลอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานให้แก่บริษัท เช่น บุคคลภายนอกที่ได้รับการว่าจ้างในลักษณะสัญญาชั่วคราว (ในกรณีที่มีการปฏิบัตินอกเหนือนโยบาย หรือไม่เป็นไปตามระเบียบและสอดคล้องกับธุรกิจบริษัท จะต้องได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารเท่านั้น )
4.1 การรับหรือการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด รวมถึงค่าบริการต้อนรับและค่าใช้จ่าย อื่นๆ ให้เป็นไปตามประเพณีนิยม โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่
4.3 การเลี้ยงรับรอง การใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ อาทิ การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารและเครื่องดื่ม และการใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือ เป็นจารีตทางการค้า กระทำได้ แต่ต้องเป็นการใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่มบริษัท ควรพึงระวังในเรื่องต่อไปนี้
(3) เข้าข่ายเป็นการติดสินบน
(1) เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ขัดต่อกฎระเบียบ และ/หรือนโยบายของบริษัท รวมทั้งเข้าข่ายเป็นการติดสินบน
(2) มีเจตนาเพื่อสร้างอิทธิพลในการตัดสินใจทางธุรกิจ และจะต้องเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของบริษัท
(3) ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัท
(4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง
5. แนวทางปฏิบัติ
1. การรับของขวัญฯ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยม ทั้งนี้หากมีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท ต้องแจ้งให้ผู้บริหารสายงานของตนโดยใช้ “แบบรายงานการรับของขวัญทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของบุคลากร” (เอกสารแนบ 1) และนำส่งของขวัญทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดดังกล่าวแก่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพื่อนำไปใช้สำหรับดำเนินกิจกรรมอื่นใดตามความเหมาะสม
2. กรณีเป็นของบริโภคซึ่งมีวันหมดอายุน้อยกว่า 1 เดือน ให้เป็นดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ส่วนงานที่ได้รับของขวัญในการบริหารจัดการ
3. กรณีปฏิทิน ไดอารี่ ที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท พนักงานสามารถรับเป็นของขวัญ ส่วนตัวได้
4. กรณีเป็นการรับของขวัญ ของที่ระลึก ในนามองค์กรต่อองค์กร เช่น การลงนามสัญญา ทางธุรกิจ
สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ ของขวัญ ของที่ระลึกดังกล่าวจะต้องเป็นทรัพย์สินของบริษัท
การรับข้อเสนอการประชุม อบรม สัมมนา และเยี่ยมชมกิจการ โดยใช้งบประมาณของคู่ค้า สามารถกระทำ ได้ หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุในสัญญา
ในกรณีที่ไม่ได้ระบุในข้อตกลงสัญญา สามารถกระทำได้ หากพิจารณาแล้วว่าการรับข้อเสนอ ดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ทั้งนี้ ต้องได้รับการ อนุมัติจากผู้บังคับบัญชาและเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม
การให้ของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด รวมถึงค่าบริการต้อนรับและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้เป็นไปตามประเพณีนิยม โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่
1. การให้ของขวัญหรือของที่ระลึก ตามประเพณีนิยม สามารถกระทำได้โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และจารีตประเพณีท้องถิ่น ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อโอกาส
2. การให้ของขวัญ ของที่ระลึก ควรดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
3. ไม่ให้ของขวัญ ของที่ระลึก ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่คู่สมรส บุตร หรือผู้เกี่ยวข้องของ เจ้าหน้าที่รัฐ ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลที่ติดต่อด้วย เนื่องจากโดยพฤติการณ์ถือว่าเป็นการรับแทน
4. การให้ของที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญทางธุรกิจ อาทิ เปิดโครงการใหม่ สามารถกระทำได้ แต่หากมูลค่าของที่ระลึกเกินกว่า 3,000 บาท ต้องได้รับการพิจารณา อนุมัติจากผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่สายงานขึ้นไป/ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
5.4 การบริจาคและให้การสนับสนุนกับหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงองค์กรการกุศล
การบริจาคและให้การสนับสนุนแก่องค์กรใด ๆ ต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ และ/หรือมีการจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. การดำเนินการต้องกระทำในนามบริษัท และบริษัทในกลุ่ม อย่างโปร่งใส ถูกต้องตาม กฎหมาย และเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม
3. ไม่ควรจ่ายเงินตรงไปที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลใด ๆ ในนามบุคคล เว้นแต่มีรายละเอียด ระบุในหนังสือขอรับการสนับสนุนชัดเจน และมีหลักฐานการรับการสนับสนุนเป็นลายลักษณ์อักษร
4. ควรมีการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคและ/หรือการสนับสนุนได้ถูกนำไป เพื่อใช้ประโยชน์ของสาธารณะ และ/หรือตรงตามวัตถุประสงค์ของการบริจาคและ/หรือ การสนับสนุนอย่างแท้จริง บุคลากรของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเรื่อง การรับ-ให้ของขวัญ การเลี้ยง หรือประโยชน์อื่นใด
5 การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถ ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม
การเลี้ยงรับรอง
ตัวอย่าง การปฏิบัติอย่างไรในกรณีเช่นนี้
1. การได้รับรางวัลจากการจับฉลาก ในงานต่าง ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เช่น งานสัมมนากับ หน่วยงานภายนอก ท่านสามารถเก็บของรางวัลเป็นของตนเองได้หรือไม่
คำแนะนำ รางวัลที่ได้จากการจับฉลากโดยการสุ่มจากตัวเลือกจำนวนมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อ หลีกเลี่ยงการเกิดอิทธิพลในการตัดสินใจอยู่แล้ว ดังนั้น ท่านสามารถรับเป็นของตัวเองได้ แต่หากรางวัลมีมูลค่าสูงมากควรปรึกษาผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการให้นั้นไม่มีเจตนาให้เกิดแรงจูงใจในการตัดสินใจใด ๆ
2. ท่านสามารถรับบัตรเข้าชมคอนเสิร์ต หรือบัตรเข้าชมกีฬาจากคู่ค้า/ลูกค้า ได้หรือไม่
คำแนะนำ หากเป็นการให้โดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สามารถรับได้ แต่หากเป็นการให้ในนามองค์กรต่อองค์กรสามารถพิจารณารับไว้ได้ โดยจะต้องนำบัตรเหล่านั้นมาบริหาร จัดการอย่างเหมาะสม เช่น การจับฉลาก เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีมูลค่าของบัตรเข้าชมมีมูลค่า สูงมากควรปรึกษาผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการให้นั้น ไม่มีเจตนาให้เกิดแรงจูงใจในการตัดสินใจใด ๆ
3. การเลี้ยงรับรองในรูปแบบกีฬาแก่เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถทำได้หรือไม่
คำแนะนำ หากเป็นการเลี้ยงรับรองในรูปแบบการจัดแข่งขันกีฬาที่กระทำอยู่เป็นประจำาหรือจัดเป็น ประเพณีต่อเนื่อง ควรจัดทำแผนงานขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ แผนงานประจำปี โดยกำหนดกรอบการดำเนินงาน วงเงิน รายละเอียดให้ชัดเจน เพื่อ ความโปร่งใส ทั้งนี้ พึงระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเลี้ยงรับรองในช่วงเจรจาหรือทำสัญญา ทางธุรกิจที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจและอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดได้
4. การจัดกิจกรรมขอบคุณลูกค้า สามารถทำได้หรือไม่
คำแนะนำ การจัดกิจกรรมขอบคุณลูกค้า ถือเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เสนอผลประโยชน์ พิเศษให้กับลูกค้าเป็นครั้งคราว เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการสินค้าในแต่ละ ช่วงเวลา ซึ่งเป็นกลไกปกติทางธุรกิจที่สามารถกระทำได้ โดยหน่วยงานผู้จัดควรกำหนด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้
หากไม่แน่ใจในการตัดสินใจของตน ควรทำเช่นไร
คำแนะนำ ใช้หลักวิญญูชน โดยขอให้ตั้งคำถามกับตนเองดังนี้
– การกระทำนั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่ หากขัดต่อกฎหมาย ให้ยุติ
– การกระทำนั้นขัดต่อนโยบายบริษัทของท่านหรือไม่ หากขัดต่อนโยบาย ให้ยุติ
– การกระทำานั้นขัดต่อค่านิยมหรือวัฒนธรรมบริษัทของท่านหรือไม่ หากขัดต่อค่านิยมหรือวัฒนธรรม ให้ยุติ
– การกระทำนั้นส่งผลเสียต่อผู้มีส่วนได้เสียบริษัทของท่านหรือไม่ หากส่งผลเสีย ให้ยุติ
– การกระทำนั้นส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัท หรือไม่ หากส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ ให้ยุติ
– การกระทำนั้นจะก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ไม่ดีในอนาคตหรือไม่ หากก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ไม่ดี ให้ยุติ
ทั้งนี้ กรณีไม่แน่ใจหรือไม่อาจตัดสินใจได้ว่าการตัดสินใจของตนนั้นถูกต้องหรือไม่ ควรหารือผู้บังคับบัญชา
นโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทฯ กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ครอบคลุมในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีให้แก่ลูกค้าไปพร้อมกับการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดีเพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้มีแนวทางในการจัดการที่ยั่งยืน และสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ
“ความยั่งยืน” หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาในอนาคตเป็นการพัฒนาที่ต้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” หมายถึง เป็นผู้ใกล้ชิดองค์กรโดยตรงและได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางตรงจากการประกอบกิจการ เช่น พนักงาน ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ ชุมชนโดยรอบที่ตั้งองค์กร เป็นต้น
“วิสัยทัศน์ หมายถึง ทิศทางที่องค์กรวางแผนในอนาคต วิสัยทัศน์เป็นแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจที่ผู้นำองค์กรใช้ในการกระตุ้นและขับเคลื่อนพนักงานทุกคนให้ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการแสดงเป้าหมายขององค์กรที่สื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า หรือผู้ถือหุ้นได้รับรู้การสร้างวิสัยทัศน์องค์กรต้องมีความชัดเจน มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นและสามารถจับต้องได้
“พันธกิจ” หมายถึง ความมุ่งหมายในการจัดตั้งองค์กรที่เพื่อดำเนินธุรกิจในขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร ที่กำหนดเป้าหมายไว้
“ธรรมาภิบาล” หมายถึง การกำกับดูแลกิจการโดยยึดหลักธรรมเป็นที่ตั้ง โดยยึดหลักธรรมทางศาสนา ศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรม ความดี กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมและความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวงแก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มขององค์กร
3. นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน
นโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทฯ กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ครอบคลุมในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้มีแนวทางในการจัดการที่ยั่งยืน และสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติทางด้านความยั่งยืน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการด้านความยั่งยืน ที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมถึงปี 2565 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีดุลยภาพ ดังนี้
Ornsirin Core Value | เป้าหมายความยั่งยืน 2565 การดำเนินงาน |
Optimize | ส่งมอบที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคส่วนกลางที่ดี มีคุณภาพ ให้แก่ลูกค้าไว้มอบความไว้วางใจบริษัท โดยลูกค้าจะได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานการก่อสร้างของบริษัท โดยมีคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทฯกำหนด |
Responsive | พร้อมปรับเปลี่ยนฉับไว การบริหารจัดการและประเมินความเสี่ยงในธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้การประเมินความเสี่ยงที่สำคัญทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและมีการทบทวนความเสี่ยงอย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ส่งผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ |
Neat | ร่วมกันคิดประณีตในการเลือกใช้วัสดุ และการบริหารโครงการ โดยใช้หลักเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึง ผลกระทบทางสังคม ที่โครงการออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงาน |
Service Excellence | จริงใจในการให้บริการ ทั้งก่อนและหลังการขาย โดยความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละปี ข้อชมเชยที่เพิ่มขึ้น และข้อร้องเรียนลดลง |
Innovation | เพิ่มคุณค่าสรรสร้างสิ่งใหม่ พัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนการใช้ทรัพยากร การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้พล้งงาน ลดการใช้กระดาษ ลดการสูญเสียและการสิ้นเปลือง โดยใช้ระบบ information technology เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ |
Growth | เติบใหญ่ไปพร้อมกัน บุคลากรได้การเพิ่มเติมความรู้และพัฒนาความสามารถตามแผนการพัฒนาบุคลากรพนักงานมีชั่วโมงการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6 ชม./คน/ไตรมาส |
Teamwork | ร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว สร้างความผูกพันของพนักงานในบริษัท โดยมีกิจกรรมร่วมกันไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มความผูกพันและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน |
Integrity | ซื่อสัตย์สุจริต พนักงานดำเนินงานตามแนวปฏิบัติจรรยาบรรณธุรกิจพนักงานในทุกระดับได้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ และบริษัทฯ ไม่พบข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณธุรกิจ |
แนวทางการพัฒนาด้านความยั่งยืน
บริษัทฯ ได้นำเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) มาประยุกต์กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของประเด็นหลักด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ และพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคมและมิติสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคม และการสร้างความเชื่อมั่นด้านการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการความตระหนักรู้ด้านความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมทั่วทั้งองค์กรและขยายวงกว้างสู่ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างคุณค่าและยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภูมิภาค/ประเทศ
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
บริษัทฯ รวบรวมและกำหนดประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับการพิจารณาบริบทด้านการ มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยการสำรวจความคิดเห็น เพื่อนำผลจากข้อเสนอแนะ มาวิเคราะห์ การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
ขั้นที่ 1 ระบุประเด็นความยั่งยืน
พิจารณาจากกรอบรายงานมาตรฐานสากล GRI ร่วมกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างของบริษัทฯ และรวบรวมประเด็นจากการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
ขั้นที่ 2 การจัดลำดับประเด็นที่สำคัญ
ระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้จากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจัดลำดับความสำคัญในแต่ละประเด็น โดยพิจารณาจากประเด็นที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบประเด็น
นำเสนอผลการจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญต่อคณะกรรมการด้านความยั่งยืน ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาตรวจสอบประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร
ขั้นที่ 4 การทบทวน
ทบทวนเนื้อหาการรายงานด้านความยั่งยืน หลังการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาที่เปิดเผย และปรับปรุงนโยบาย ประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โดยมีห่วงโซ่คุณค่า ของธุรกิจ ดังนี้
ห่วงโซ่ธุรกิจ | กระบวนการ | ผู้เกี่ยวข้อง |
1. การจัดหาที่ดินและแหล่งเงินทุน |
|
|
2. การออกแบบโครงการ |
|
|
3. การจัดซื้อจัดจ้าง |
|
|
4. การขายและการตลาด |
|
|
5. การก่อสร้าง |
|
|
ห่วงโซ่ธุรกิจ | กระบวนการ | ผู้เกี่ยวข้อง |
6. การส่งมอบและการโอนกรรมสิทธิ์ |
|
|
7. บริการหลังการขาย |
|
|
4. การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
เราให้ความสำคัญกับการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Consuming Responsibly) เพราะเราต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการบริโภคและการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัสดุ การจัดการและการใช้ในตลอดสายห่วงโซ่อุปทาน พร้อมด้วยการพัฒนาการออกแบบเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ การจัดการด้านพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิการใช้และใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการของเสีย โดยการป้องกันการเกิด ลดปริมาณ และการนำกลับมาใช้ และภายใต้การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน โดยให้ความใส่ใจ ดูแล รักษาและใช้ทรัพยการต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งเสริมการบริการจัดการของเสียจากทุกกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกพื้นฐานในการอยู่อาศัยของคนในสังคม ชุมชน ให้สามารถอยู่ร่วมกันและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ กระบวนการจัดหาที่ดิน กระบวนการออกแบบโครงการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ รวมถึง กระบวนการบริหารโครงการนิติบุคคลที่บริษัทฯให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าในทุกกระบวนการมีการบริหารและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ของเสีย และสภาพแวดล้อม
แนวปฏิบัติการจัดการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวปฏิบัติการดูแลและการพัฒนาสังคม
การจัดการพลังงาน
พลังงานไฟฟ้าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อลดการใช้พลังงานในองค์กรและนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน บริษัทฯได้ออกแบบอาคารและโครงการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยพึ่งพาแสงและลมจากธรรมชาติ ในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ และเลือกใช้วัสดุทดแทนพลังงานเพื่อส่งเสริมการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า
การจัดการน้ำ
บริษัทฯ บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคำนึงถึงปริมาณ และผลกระทบที่มีต่อชุมชน โดยลดปริมาณการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการติดตั้งสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำหรือมีอุปกรณ์ควบคุมการเปิด ปิดน้ำอัตโนมัติให้แก่สุขภัณฑ์ภายในโครงการ เช่น โถสุขภัณฑ์แบบ Dual Flush ที่มีปริมาณการใช้น้ำไม่เกิน 6 ลิตรต่อการกด 1 ครั้งซึ่งทำให้ประหยัดได้ถึงร้อยละ 50 ต่อการใช้น้ำใน 1 ครั้ง พร้อมทั้งมีการจัดการน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ในทุกโครงการก่อสร้างและโครงการที่มีผู้พักอาศัย บริษัทฯ ได้กำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างและนิติบุคคลต้องจัดระบบจัดการน้ำเสียตามที่กฎหมายกำหนด โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโครงการก่อสร้างจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำตามมาตราฐานน้ำเสียและผ่านการบำบัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น การติดตั้งถังดักไขมันบริเวณจุดล้างชำระ การจัดทำระบบระบายน้ำลงสู่ท่อสาธารณะ
การจัดการขยะ ของเสียและมลพิษ
การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สร้างของเสียและขยะมูลฝอยที่มาจากกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจโดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณของเสียและขยะมูลฝอยลงร้อยละ 5 ภายในปี 2565 ทั้งนี้ บริษัทฯได้สนับสนุนแนวทางเรื่อง Circular Living ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดการเกิดของเสีย สนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกและนำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ซ้ำ หรือนำวัสดุที่ผ่านการผลิตซ้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เช่น การใช้วัสดุตกแต่งพื้นลวดลายใกล้เคียงวัสดุธรรมชาติประเภท PVC ที่มีความแข็งแรง ทนทานและช่วยลดการใช้ทรัพยากร สามารถนำกลับไปรีไซเคิลใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งแตกต่างจากวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติที่ต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มีการจัดการขยะและของเสียในกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบตามหลักการ 3R (Reduce Reuse Recycle) และมีระบบการคัดแยกขยะตามประเภทที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มจากการส่งเสริมการคัดแยกขยะภายในอาคารและรณรงค์การลดขวดน้ำพลาสติกในสำนักงานใหญ่ ซึ่งการคัดแยกประเภทขยะจะสามารถนำขยะบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ใหม่
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแนวทางในการคัดแยกขยะและลดการผลิตขยะมูลฝอยในอาคาร เช่น ลดการใช้ขวดน้ำดื่มพลาสติกในสำนักงานใหญ่ และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขวดแก้ว ขวดพลาสติก
การบริหารจัดการของเสียในโครงการก่อสร้าง
บริษัทฯ กำหนดให้ผู้รับเหมาต้องจัดให้มีถังขยะขนาดใหญ่ ที่มีฝาปิดมิดชิด จัดตั้งอยู่ในบริเวณอาคารสำนักงานควบคุมการก่อสร้าง และบริเวณบ้านพักของคนงาน โดยขยะในพื้นที่ก่อสร้างมี 2 ประเภท คือ ขยะที่เกิดจากการก่อสร้าง และขยะที่เกิดจากคนงาน โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ด้วยการนำขยะบางส่วนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น เศษเหล็ก เศษไม้ ซึ่งขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ที่อยู่ในส่วนความรับผิดชอบของผู้รับเหมาจะต้องนำออกจากพื้นที่ทั้งหมดเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ผู้รับเหมาจะต้องควบคุมคนงานให้ทิ้งขยะมูลฝอยลงในถังขยะที่จัดเตรียมไว้เท่านั้น และให้หน่วยงานความปลอดภัยสุ่มตรวจเช็คการปฏิบัติตามมาตรการที่บริษัทฯ กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการติดตามผลในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการของเสียในโครงการพักอาศัย
บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาขยะที่เกิดขึ้น จึงได้จัดให้มีโครงการต้นแบบในด้านการจัดการขยะ โดยเริ่มต้นที่สำนักงานใหญ่ โดยมีการจัดให้คัดแยกขยะ
การบริหารจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมในงานก่อสร้าง
บริษัทฯ ได้ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์เพื่อตอบรับนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ มีนโยบายว่าจ้างบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง และวิศวกรรมงานระบบประกอบอาคารที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ ทำให้โครงการสามารถผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับมาตรการ นโยบาย และแผนงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่
ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบสถานประกอบการ โดยเปิดช่องทางสื่อสารและหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้สะดวกที่สุด บริษัทฯ ได้จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดการข้อร้องเรียน ตลอดจนสื่อสารผลการจัดการข้อร้องเรียนกลับไปยังผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางร้องเรียน
5. การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสังคม
การพัฒนาด้านสังคม (Social Change) บริษัทฯ ตระหนักถึงการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่อสังคม ชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ อายุ สัญชาติ สิทธิความเป็นพลเมือง ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นรากฐานสู่อนาคตที่ดีของสังคม รวมไปถึงการเสริมสร้างและพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของชุมชนให้สังคมให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม
บริษัทฯ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (The United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: “UNGPs”) โดยให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติด้านแรงงานและการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในด้านการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางเพศ อายุ สถาบันการศึกษา เชื้อชาติ และศาสนา นอกจากนั้น เพื่อให้พนักงานและบุคลากรทุกคนเกิดความรู้สึกผูกพันเป็นครอบครัวเดียวกับองค์กร
บริษัทส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการกำกับดูแลกิจการ หากพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ สามารถสอบถาม แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนให้บริษัททราบได้ตาม ทั้งนี้บริษัทจัดทํา “นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด” เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทได้รับทราบเรื่องร้องเรียนการกระทําผิดกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และจรรยาบรรณการดําเนินธุรกิจของบริษัท อันนํามาซึ่งความเสื่อมเสียในทรัพย์สินและชื่อเสียงของบริษัท ทั้งจากพนักงานภายในและบุคคลภายนอก
“การแจ้งเบาะแส” หมายถึง การให้ข้อมูลต่อบริษัท ที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด
“ข้อร้องเรียน” หมายถึง คำร้องเรียนจาก ลูกค้า, ชุมชน, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจ และแจ้งขอให้ตรวจสอบแก้ไข
“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” หมายถึง บุคคล และกลุ่มบุคคล ที่เพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร หรือสนใจหรือรับผลกระทบจาก กิจกรรมของบริษัท
“จรรยาบรรณ” หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง รวมถึงฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ รายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่องต่อคณะกรรมการบริษัทได้โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งต่อคณะอนุกรรมการผู้รับข้อร้องเรียน (“ผู้รับข้อร้องเรียน”) เพื่อพิจารณากำหนดกระบวนการในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ เมื่อผู้รับข้อร้องเรียนพิจารณาแล้วให้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อตัดสินใจดำเนินการตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร
ผู้แจ้งเบาะแสสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบเชิงลบต่อบริษัท ดังต่อไปนี้
แนวทางการแจ้งข้อร้องเรียน
หากพบเห็น ประสบ หรือมีพยานหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้กระทำการแทนของบริษัท ในเรื่องการประพฤติที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ จรรยาบรรณธุรกิจ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี สามารถรายงานต่อผู้ที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้บังคับบัญชาที่ตนเองไว้วางใจในทุกระดับ
(2) หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นโดยตรง
(3) ผ่านระบบ online บนเว็ปไซต์ของบริษัท www.ornsirin.co.th
(4) กล่องรับเรื่องร้องเรียนภายในบริษัทหรือทุกสาขาของบริษัท ฯ
(5) ทางโทรศัพท์ : 053-333-666
(6) ทางอีเมล์ : auditcommittee@ornsirin.co.th
(7) ทางไปรษณีย์ : คณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด
เลขที่ 79 หมู่ 8 ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
กระบวนการดําเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียน
บริษัทและกลุ่มบริษัทจัดให้มีกระบวนการในการดำเนินการหากได้รับเบาะแสหรือข้อร้องเรียน โดยกำหนดกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนรับเรื่องร้องเรียน การดำเนินการสืบสวนและบทลงโทษไว้ ดังนี้
1) แจ้งเรื่องร้องเรียน ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียน
2) ผู้รับเรื่องร้องเรียน ผู้ที่รับเรื่องร้องเรียนตามช่องทางที่กำหนด ได้แก่ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ และเลขานุการผู้รับเรื่อง
3) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเรื่องร้องเรียนและเป็นผลสรุปของการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
4) คณะทำงานสอบข้อเท็จจริง ประธานกรรมการบริหารแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
ยกเว้นว่า เกี่ยวข้องกับการทุจริตของผู้บริหาร ทางคณะกรรมการ ตรวจสอบจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
1) ผู้รับเรื่องร้องเรียนส่งเรื่องที่ได้รับร้องเรียนไปยังผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน
2) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนส่งเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนให้แก่คณะทำงานสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำการพิจารณาหรือสืบสวนต่อไป
1) หากเรื่องที่ได้รับร้องเรียนเป็นเรื่องที่คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงพิจารณาแล้วเห็นว่า
2) หากเรื่องที่ได้รับร้องเรียนเป็นเรื่องที่คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือเกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท
3) หากเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท
1) หากผู้ถูกร้องเรียนมีความผิดจริง ให้บริษัทดำเนินการลงโทษตามระเบียบวินัยของบริษัท และ/หรือดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
2) หากตรวจสอบแล้วเรื่องที่รับแจ้งเป็นเรื่องร้องเรียนที่ไม่สุจริตและผู้ร้องเรียนนั้นเป็นบุคลากรของ บริษัท ให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท
ทั้งนี้กระบวนการสอบสวนต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน (หากไม่สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ภายใน 30 วันดังกล่าว ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนทราบ)
1) คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงส่งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน
2) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนบันทึกผลการดำเนินการลงในทะเบียนข้อร้องเรียน และแจ้งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนนั้น ให้ผู้ร้องเรียนทราบ
3) ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนแจ้งผลการดำเนินการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียน รวมทั้งติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) นำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบโดยกำหนดรายงานเป็นรายไตรมาส
มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบจะได้รับความคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
บทลงโทษ
ผู้ใดกระทําการใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่กลั่นแกล้งข่มขู่ลงโทษทางวินัย หรือเลือกปฏิบัติ ด้วยวิธีการอันไม่ชอบเนื่องมาจากการร้องเรียนต่อผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนกับระเบียบนี้ ถือว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัย ให้บริษัทดำเนินการลงโทษตามระเบียบวินัยของบริษัท และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทําดังกล่าว ตลอดจนรับผิดในทางแพ่งและทางอาญาหรือตามกฎหมายต่อไปด้วย
ผู้ใดร้องเรียนเรื่องอันเป็นเท็จ หากตรวจสอบแล้วเรื่องที่รับแจ้งเป็นเรื่องร้องเรียนที่ไม่สุจริตให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับโทษตามระเบียบนี้ รวมถึงผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สนับสนุนการให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับโทษตามระเบียบนี้ ถือว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัย บริษัทให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทและต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถูกร้องเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทําดังกล่าว ตลอดจนรับผิดในทางแพ่งและทางอาญาหรือตามกฎหมายต่อไปด้วย
ทั้งนี้กระบวนการสอบสวนต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน (หากไม่สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ภายใน 30 วันดังกล่าว ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนทราบ)
การบังคับใช้ของระเบียบ
ให้ระเบียบฉบับนี้บังคับใช้กับบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จึงมีความมุ่งมั่นและวางแผนจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงนิเวศเศรษฐกิจอย่างสูงสุด รวมถึงลดผลกระทบเชิงลบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดบนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างเคร่งครัด โดยกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ ได้แก่ การจัดการพลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การออกแบบและการใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ได้แก่
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ จึงกำหนดนโยบายฉบับนี้เพื่อให้บริษัทมีกรอบการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทการดำเนินธุรกิจ
2. คำอธิบายคำศัพท์
ระบบเครือข่าย = ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย = เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการทำงาน อาทิ จัดเก็บข้อมูลหรือซอฟแวร์สำหรับให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ หรือควบคุมการทำงานในระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์ = อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยทำงานตามคำสั่งผ่านทางซอฟแวร์ให้ได้ผลตามที่ต้องการ อาทิ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) และคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ (Notebook Computer)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ = อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฎิบัติงานได้ตามต้องการ และให้รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศ = ระบบงานของหน่วยงานที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายมาช่วยในการสร้างสารสนเทศที่หน่วยงานสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารการสนับสนุนการให้บริการการพัฒนาและการควบคุมการติดต่อสื่อสารซึ่งมีองค์ประกอบอาทิอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รบบเครื่อข่ายโปรแกรมระบบงานและสารสนเทศ
สารสนเทศ = ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว การจัดระเบียบให้ข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ข้อความ หรือภาพกราฟฟิก ให้อยู่ในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารการวางแผน การตัดสินใจ และอื่นๆ ได้
ระบบงาน = การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อาทิ ระบบจัดเก็บเอกสาร ระบบจองยานพาหนะ
ระบบปฎิบัติการ (Operating System) = ซอฟแวร์ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ ซึ่งได้แก่ การจัดการหน่วยความจำ การควบคุม การทำงานของอุปกรณ์ป้อนข้อมูล (แป้นพิมพ์ เมาส์) อุปกรณ์แสดงผล (จอภาพ เครื่องพิมพ์)
ข้อมูล = ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ไฟล์ (File) = ข้อมูลที่ถูกรวบรวมลงสื่อบันทึกและระบุเป็นหนึ่งหน่วยมีโดย ชื่อเฉพาะ เช่น ซอฟแวร์การทำงาน และไฟล์เอกสารต่างๆ ที่สร้างขึ้นและใส่ชื่อให้แก่ไฟล์นั้นแล้วเก็บบันทึกลง สื่อบันทึก
ผู้ใช้งาน (User) = เจ้าหน้าที่หรือบุคคลภายนอกที่มีสิทธิใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ
ผู้บริหารเครือข่าย (Network Administrator) = บุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลบำรุงรักษาเครือข่าย
ผู้บริหารคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host/Server Administrator) = บุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
บัญชีผู้ใช้งาน (User Account) = บัญชีที่ผู้ใช้งานใช้ในการเข้าถึงและใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
บัญชีผู้บริหารคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Administrator Account) = บัญชีผู้บริหารคอมพิวเตอร์แม่ข่ายใช้ในการบริหารระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
IT Help Desk = บริการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ผู้รับบริการ= ผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติงานของบริษัทกลุ่มอรสิริน
พนักงานสารสนเทศ= เจ้าหน้าที่ผู้บริการงานด้านการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้าน ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน= พนักงานสารสนเทศผู้รับมอบหมายให้ดําเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
SLA (Service Level Agreement) = ข้อตกลงเพื่อรับประกันการบริการระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้รับบริการว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถให้บริการได้ตามระยะเวลาแต่ละกระบวนงานที่กําหนดไว้ไม่ถือเป็นข้อผูกพันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
3. การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสําหรับสารสนเทศ
ระเบียบปฏิบัติ
4. การจัดการกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมออย่างน้อยวันละ1 ครั้ง
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และระเบียบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอกสารฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการใช้ระบบ คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ของบริษัทฯ ภายใต้การดูแลของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งกล่าวถึง สิทธิหน้าที่ข้อปฏิบัติของผู้ใช้ระบบ
“แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายถึงแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) “เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย“หมาย ถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสมบัติของบริษัททั้งที่อยู่ ภายในและภายนอกส่วนกลางรวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆอุปกรณ์เครือข่ายที่ เชื่อมโยงเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่างๆภายในบริษัทตลอดจนถึงโปรแกรมและข้อมูลต่างๆที่มิได้จัด ให้เป็นสื่อ สาธารณะ “แผนก” หมายถึงแผนกต่างๆ ของบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
“ผู้ใช้งาน” หมายถึงพนักงานที่บริษัทอนุญาตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายได้ “บทลงโทษ” หมายถึงบทลงโทษที่บริษัทเป็นผู้กําหนดหรือบทลงโทษตามกฎหมาย
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของบริษัทเป็นสมบัติของบริษัท ห้ามผู้ใดเข้าใช้งานโดย มิได้รับอนุญาต
กรณีผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องใช้ในการทำงานของบริษัทให้ขออนุมัติจากทางต้นสังกัดและแจ้งขึ้นทะเบียนอุปกรณ์กับทางแผนกสารสนเทศ
ระเบียบปฏิบัติ
19. การป้องกันการใช้ทรัพยากรผิดวัตถุประสงค์
ระเบียบปฏิบัติ
20. การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
ระเบียบปฏิบัติ
21. การกำหนดรหัสผ่านและป้องกันรหัสผ่าน
ระเบียบปฏิบัติสําหรับการกำหนดรหัสผ่าน
22. ระเบียบปฏิบัติสําหรับการกําหนดและป้องกันรหัสผ่าน
23. การนําข้อมูลเผยแพร่สู่สาธารณะ
ระเบียบปฏิบัติ
24. การรักษาความปลอดภัย/ป้องกันการสูญหายของนจัดเก็บรูปแบบ Electronic file
ระเบียบปฏิบัติ
บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ใช้โปรแกรม Real Estate Management System (RMS) ในการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชีและข้อมูลลูกค้าของบริษัท ทั้งหมดในคอมพิวเตอร์โดยมีระเบียบปฏิบัติดังนี้
25. การควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศ
ระเบียบปฏิบัติ
1. การควบคุมการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ(AccessControl)
1.1 กำหนดกลุ่มผู้ใช้งานและสิทธิของกลุ่มผู้ใช้งาน
1.2 กำหนดเกณฑ์ในการอนุญาตให้เข้าถึงการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการกำหนดสิทธิ
(1) กำหนดสิทธิของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เช่น
– อ่านอย่างเดียว
– สร้างข้อมูล
– ป้อนข้อมูล
– แก้ไขข้อมูล
– อนุมัติ
– ไม่มีสิทธิ
(2) กำหนดเกณฑ์การระงับสิทธิ มอบอำนาจ ให้เป็นไปตามการบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน(User access management)
(3) ผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงานจะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการพิจารณาอนุญาตจากผู้อนุมัติต้นสังกัดและผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมาย
1.3 มีข้อกำหนดการใช้งานตามภารกิจ เพื่อควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศ (Business requirements foraccess control) โดยแบ่งการจัดทำข้อปฏิบัติเป็น 2 ส่วน คือ
(1) มีการควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศ โดยให้กาหนดแนวทางการควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศ และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
(2) มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการใช้งานตามภารกิจและข้อกำหนดด้านความมั่งคงปลอดภัย
2. การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (User access management)
3. การบริหารจัดการการเข้าถึงข้อมูลตามระดับชั้นความลับ
ด้วยบริษัทกำหนดให้มีการซื้อ–ขายสินค้า รับ–ให้บริการ เช่า–ให้เช่า และกู้–ให้กู้ ระหว่างกันในกลุ่มบริษัท โดยให้ใช้เกณฑ์ราคาและข้อตกลงทางการค้าเช่นเดียวกับที่ใช้กับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ทั่วไป หรือมีข้อตกลงและเงื่อนไขการค้าทั่วไป จึงกำหนดให้มีนโยบายการซื้อ–ขายสินค้า รับ–ให้บริการ เช่า–ให้เช่า และกู้–ให้กู้ ระหว่างกันในกลุ่มบริษัท
“กลุ่มบริษัท” หมายถึง บริษัท และ/หรือ บริษัทย่อย
“รับ–ให้บริการบริหารงาน” หมายถึง การให้บริการและรับบริการบริหารงานของกลุ่มบริษัท
“การซื้อ–ขายสินค้า” หมายถึง การซื้อและขายทางธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าของกลุ่มบริษัท
“การซื้อ–ขายสินทรัพย์” หมายถึง การซื้อและขายทางธุรกิจที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ของกลุ่มบริษัท
“เช่า–ให้เช่า” หมายถึง การนำเอาอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทในกลุ่มนำไปใช้ประโยชน์ โดยบริษัทที่ปล่อยเช่าจะได้รับผลตอบแทนจากกลุ่มบริษัทตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน
ค่าบริการบริหารงาน บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ให้บริการบริหารงานแก่บริษัทย่อย โดยมีลักษณะเป็นงานให้บริการบริหารจัดการและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ซึ่งเป็นการให้บริการในระดับกลุ่มโดยบริษัทผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดยขอบเขตงานเกี่ยวข้องก้บธุรกิจของกลุ่มบริษัทตามโครงสร้างองค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตามขอบเขตงานตามสัญญาค่าบริการบริหารงานของบริษัทกับบริษัทย่อย ทั้งนี้ บริษัททำสัญญาระยะเวลา 12 เดือน โดยต่อสัญญาต่อเนื่องซี่ง
หลักเกณฑ์ คิดค่าบริการกับบริษัทย่อยคำนวณจากอัตราเปอร์เซนต์ตามที่นโยบายกำหนดของมูลค่าโครงการที่เหลืออยู่ในแต่ละโครงการของแต่ละบริษัทย่อย โดยการจัดเก็บรายเดือนด้วยวิธีเส้นตรง (Straight line) โดยนำสัดส่วนคูณกับ มูลค่าโครงการที่เหลืออยู่แยกรายปีในแต่ละโครงการของแต่ละบริษัทย่อย แล้วคำนวณปรับเป็นค่าบริการต่อเดือน ตามสมการข้างล่างนี้ ทั้งนี้
ในส่วนของ บริษัท โกลบอล เวลท์ พลัส จำกัด ซี่งเป็นบริษัทย่อย มีหลักเกณฑ์ การคิดค่าบริการบริหารงานเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 5,000 บาท
ให้อ้างอิงราคาโดยคำนวนต้นทุนสินค้าที่ได้รับจากแผนกบัญชีของบริษัทผู้ขาย บวกด้วยกำไร โดยให้เป็นไปตามหลักการค้าปกติเหมือนเช่นทำกับกิจการหรือบุคคลอื่น และเป็นไปตามราคาตลาดและมีเงื่อนไขการค้าทั่วไป โดยธุรกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่ การซื้อขาย บ้าน และ ห้องชุด
แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
ให้อ้างอิงตามราคาตลาด ณ ปัจจุบัน โดยให้มีการสำรวจและเปรียบเทียบราคาอย่างน้อย 3 แห่ง หรือว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก.ล.ต. เพื่อประเมินค่าเช่า หรือพิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารกำหนด โดยรายการที่มีและอาจจะมี ได้แก่
การกู้–ให้กู้ระหว่างกันในกลุ่มบริษัท ให้อ้างอิงนโยบายการจัดหาแหล่งเงินทุน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กรณีบริษัทให้กู้ยืมจากแหล่งเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
กล่าวคือไม่มีการจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก การกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ประเภทเงินฝากประจำ 24 เดือน (ใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในการคำนวณ) (อ้างอิงจากข้อมูล การเฉลี่ย 5 ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย)
กรณีบริษัทให้กู้จากแหล่เงินทุนภายนอก
เช่น เงินกู้ยืมระยะสั้นจากเงินเบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ เป้นต้น ให้คิดอัตราดอกเบี้ยระหว่างกลุ่มบริษัทอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถัวเฉลี่ย โดยกำหนดให้ทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. คํานิยาม
ความเสี่ยง (Risks) หมายถึง โอกาส/เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน หรือสิ่งที่ทำให้แผนงานหรือการดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบันไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อองค์กร
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง กระบวนการที่ปฏิบัติโดยคณะกรรมการผู้บริหารและบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินงาน โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการออกแบบให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ในการบรรลุวัตถุประสงค์องค์กรกำหนดไว้
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) หมายถึง ระดับความเสี่ยงสูงสุดที่ยอมรับได้ในระดับองค์กร ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อใช้ในการประเมินและบริหารความเสี่ยง โดยความเสี่ยงใดที่ได้รับการวิเคราะห์และประเมินแล้วพบว่าอาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯหรือบริษัทย่อย เกินกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ให้หน่วยงานเจ้าของความเสี่ยงนั้นๆจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Action Plan) และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อพิจารณาและนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท
3. วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
4. นโยบายการบริหารความเสี่ยง
บริษัทอรสิรินโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) และ บริษัทในเครืออรสิริน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องนำระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากลมาใช้ในการบริหารโดยมุ่งหวังให้บริษัทฯและบริษัทในเครืออรสิรินให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึง มีภาพลักษณ์ที่ดีและพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทในเครืออรสิรินให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร จึงกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
5. ประเภทความเสี่ยง
บริษัทฯได้จำแนกของความเสี่ยงได้ดังนี้
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดกลยุทธ์แผนดำเนินงานและนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือการขาดแคลนทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ให้สำเร็จเป็นต้น
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของธุรกิจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงินเช่นความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก Counterparty เป็นต้น
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติงานตามนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดขึ้น
เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital transformation) ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีนี้ให้หมายความรวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่องค์กรใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญซึ่งไม่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจด้วย
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกระทำใดๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยการให้หรือรับสินบนไม่ว่าจะเป็นเงินสิ่งของการช่วยเหลือทางการเงินการบริจาคเพื่อการกุศลค่าบริการต้อนรับหรือค่าใช้จ่ายอื่นโดยการเสนอให้สัญญาว่าจะให้ให้คำมั่นเรียกร้องให้หรือรับซึ่งเงินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานของรัฐเอกชนหรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวกระทำหรือยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
6. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทและกำกับดูแลให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
มีหน้าที่ในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชีระบบการควบคุมภายในระบบการตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงรวมทั้งนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเพียงพอและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
กำหนดแนวทางในการบริหารความเสี่ยงพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบบริหารความเสี่ยงเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติของบริษัทติดตามผลการบริหารความเสี่ยงสนับสนุนให้มีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจในเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงานทุกระดับและให้มีผลในทางปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งให้ความเห็น/ข้อเสนอแนะ ปรึกษาแก่ฝ่ายบริหาร และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและ/หรือคณะกรรมการบริษัท
จัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงตามนโยบายและแนวทางที่คณะกรรมการกำหนดพิจารณาและกำหนดกลยุทธ์และกำหนดให้มีการจัดทำและติดตามแผนบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรกำหนดและมอบหมายความรับผิดชอบความเสี่ยง (Risk Owner) พิจารณาและกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท สื่อสารและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ตระหนักรู้ความเสี่ยง รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เช่นมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ข้อบังคับระเบียบปฏิบัติและข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รับผิดชอบในการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ/กิจกรรมที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยง วิเคราะห์ Cost-Benefit ของแต่ละทางเลือก ติดตามผลการประเมินความเสี่ยง และนำเสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลให้คำแนะนำปรึกษาและจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรประสานงานและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงจาก Risk Owners และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายงานความเสี่ยงเสนอฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบและ/หรือคณะกรรมการบริษัท ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีหน้าที่ในการตรวจสอบและสอบทานกระบวนการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามนโยบายระเบียบปฏิบัติที่บริษัทกำหนด/แนวปฏิบัติที่ดี หรือกฎระเบียบ ข้อบังคับของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายใน/การจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสมและรายงานต่อคณะกรรมการตรวสอบ
1. หลักการและเหตุผล
บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทจึงกำหนดให้มีนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดหลักจริยธรรมควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ชุมชนตลอดจนสังคมวงกว้าง
2. คำอธิบายคำศัพท์
“การรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)” หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” หมายถึง บุคลากรในองค์กร เจ้าของ/ผู้ลงทุน (เช่น ผู้ถือหุ้น รายบุคคลหรือกลุ่ม รวมถึงภาคสาธารณะซึ่งมีส่วนได้เสียเฉพาะด้านกับองค์กร) สังคม ในรูปของชุมชน หรือสาธารณชนผู้ได้รับผลกระทบจากองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ขององค์กร
“ทรัพย์สินทางปัญญา” หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ “ผู้ทรงสิทธิ” มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์
“การทุจริตหรือคอร์รัปชั่น” หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ การฝ่าฝืนกฎหมาย จริยธรรม ระเบียบหรือนโยบายของบริษัท หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่ง หรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้นหรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่
“วัฒนธรรมองค์กร” หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์กร และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์กรนั้น
“แรงงาน” หมายถึง ประชากรในวันทำงาน, คนงาน, ผู้ใช้แรงงาน
“ผู้บริโภค” หมายถึง ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้า หรือรับบริการด้วย
3. นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตาม แนวทางการพัฒนาธุรกิจของบริษัทอย่างยั่งยืน คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) โดยมีกรอบหลักการแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
4. กรอบแนวทางการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคม
การดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดหลักจริยธรรมควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ชุมชนตลอดจนสังคมวงกว้าง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันบริษัทได้กำหนดแนวทางของความรับผิดชอบต่อสังคมให้ครอบคลุมในหัวข้อดังต่อไปนี้
บริษัทและบริษัทย่อยให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันทางการค้าที่สุจริตและเป็นธรรมภายใต้กรอบของกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท และยึดกติกาของการแข่งขันอย่างเสมอภาคของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าต้องไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทหรือขัดต่อกฎหมาย โดยมีหลักการในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
บริษัท และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ยึดมั่นในความถูกต้อง โดยจัดให้มีแนวทางในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงาน ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ไม่สนับสนุนให้มีการสร้างความสำเร็จของงานด้วยวิธีการทุจริต คณะกรรมการบริษัทกำหนดนโยบายปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
บริษัทสนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ชุมชน และสังคมรอบข้าง ด้วยความเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงความเสมอภาคและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ไม่ละเมิดสิทธิขึ้นพื้นฐาน และไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ อายุ การศึกษา สภาวะทางร่างกาย หรือสถานะทางสังคม รวมถึงจัดการดูแลไม่ให้ธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การบังคับใช้แรงงาน (Forced Labor) การใช้แรงงานเด็ก (Child Labor) และการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทยังส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกละเมิดสิทธิของตนหากมีการกระทำของบริษัทหรือบุคลากรในบริษัทที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิหรือสร้างความเดือดร้อนใดๆให้แก่ชุมชนและสังคมซึ่งสามารถร้องเรียนผ่านการติดต่อหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์หรือหน่วยงานสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยของบริษัทและมีการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์เพื่อสื่อสารให้ชุมชนเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตของกลุ่มบริษัทฯรวมทั้งระบบการบริหารจัดการภายในของบริษัทฯกรณีที่ชุมชนมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและดำเนินงานของกลุ่มบริษัท
ทั้งนี้เพื่อให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบริษัทได้ดำเนินการสร้างองค์ความรู้ด้าน
สิทธิมนุษยชนและปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรของบริษัท ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
จัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงานภายในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ และพร้อมจะนำหลักการและจรรยาบรรณในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงานด้วยความเคร่งครัดทั้งองค์กร
บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารงานบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และการเลื่อนตำแหน่ง
บริษัทจัดให้มีการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และช่วยค้นหาข้อบกพร่องจุดอ่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายในซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและหรือนิติบุคคลภายนอกและมีความเป็นอิสระ เป็นผู้ทำหน้าที่ให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัท เห็นควรกำหนดนโยบายให้มีแนวทางปฏิบัติการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยจะดำเนินการปรับปรุงคู่มือนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือจริยธรรมธุรกิจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของบริษัทฯ เพื่อให้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
บริษัท และบริษัทย่อยมีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเป็นธรรม โดยไม่มีเงื่อนไขใดที่จะทำให้บริษัท และบริษัทย่อยจะต้องปฏิบัติต่อพนักงานโดยไม่เท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกคน บริษัท มีระบบการดูแลพนักงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท) ซึ่งรวมถึงแนวปฏิบัติดังนี้
เนื่องจากบริษัท ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความเท่าเทียมกัน โดยมีแนวปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นไปตามคู่มือข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน โดยถือว่าข้อพึงปฏิบัติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ “ระเบียบและข้อบังคับพนักงาน” ที่พนักงานพึงปฏิบัติ ทั้งนี้ บริษัท ได้ดำเนินการชี้แจงเรื่องข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct) ให้กับพนักงานทุกคนรับทราบในวันแรกของการเข้าร่วมงานกับบริษัท และยังได้เน้นย้ำรายละเอียดในหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงาน
บริษัท ให้ความสำคัญความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า และคู่แข่งทางธุรกิจ และได้ประกาศใช้ข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัท โดยมีแนวปฏิบัติความรับผิดชอบต่อลูกค้า ดังต่อไปนี้
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมโดยสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือสังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนส่งเสริมการดำเนินงานด้านจิตอาสาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานทุกระดับโดยมีนโยบายดังนี้
บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยตระหนักว่าการประกอบกิจการได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับมากและน้อยในเรื่องใดหรือในส่วนใดบ้างแลบริษัทจะปรับปรุงแก้ไขรวมทั้งพัฒนากระบวนการประกอบธุรกิจเพื่อให้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการรวมทั้งสังคมชุมชนเศรษฐกิจโดยรวม
นอกจากนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป. โดยจะทำหน้าที่แนะนำ กำกับดูแลรับผิดชอบให้พนักงานในสถานประกอบการได้รับความปลอดภัยในการทำงาน และสำรวจตรวจสอบความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากเครื่องจักรอุปกรณ์ และเครื่องมือตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เสนอให้มีการป้องกัน หรือแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน ตามกฎหมายความปลอดภัยประกาศใช้โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมทั้งการให้การแนะนำเรื่องการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
บริษัทจะสนับสนุนให้มีนวัตกรรมทั้งในระดับกระบวนการทํางานในองค์กรและในระดับความร่วมมือระหว่างองค์กรซึ่งหมายถึงการทําสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆและยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเพื่อทําให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก่อผลิตผลที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด
การเผยแพร่นวัตกรรมถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการสื่อสารและเผยแพร่ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลข่าวสารของบริษัทเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทได้อย่างทั่วถึง
บริษัทนำแนวคิดในการรับผิดชอบต่อสังคมมาปรับใช้และคิดค้นให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจที่สร้างประโยชน์ความสามารถในการแข่งขันต่อธุรกิจและสังคมดังนี้
กำหนดให้คณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจัดทำแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคม นำเสนอ คณะกรรมการบริหารเป็นรายปี และกำหนดงบประมาณในการดำเนินงานสำหรับปีนั้นๆ โดยคำนึงถึงกรอบแนวทางการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมกับความเหมาะสมกับการดำเนินการของบริษัท สถานะทางการเงิน และผลประกอบการของบริษัท และบริษัทย่อย และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
บริษัทอรสิรินโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายในให้เป็นไปตามหลักกการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม และจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้มีนโยบายการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯ สำหรับการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอกตลอดจนสื่อสารให้พนักงานในองค์กรรับทราบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและเพื่อให้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งรวมถึงความเข้าใจของคณะกรรมการในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโอกาสและความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ
“ข้อมูลภายในบริษัทฯ” หมายถึง
“บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
“อำนาจควบคุมกิจการ” หมายความว่าการมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทฯ เกินกว่าร้อยละ 50 (ห้าสิบ) ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด
(ค) การมีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
“หลักทรัพย์” หมายถึง ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
บริษัทฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อความโปร่งใสและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนจึงได้กำหนดนโยบายการใช้ข้อมูลภายในบริษัทฯดังนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดบทลงโทษทางวินัยหากมีการฝ่าฝืนนำข้อมูลภายในไปใช้หาประโยชน์ส่วนตนซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือให้ออกจากงาน ซึ่งการลงโทษจะพิจารณาจากเจตนาของการกระทำและความร้ายแรงของความผิดนั้น
1.หลักการและเหตุผล
ในการลงทุนทำธุรกิจของผู้ถือหุ้นภายใต้การบริหารของบริษัท โดยกำหนดให้มีการตอบแทนผู้ถือหุ้นเป็น เงินปันผลนั้น บริษัทจึงกำหนดให้มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลตามผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น
2.คำอธิบายคำศัพท์
“เงินปันผล” หมายถึง ค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ โดยจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) และ/หรือ ค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่ม (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว)
“เงินปันผลระหว่างกาล” หมายถึง เมื่อใดที่บริษัทดำเนินงานมีผลกำไร (กำไรสะสม) คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติให้มีการจ่ายค่าตอบแทนหรือเงินปันผลระหว่างกาล ให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ โดยจะต้องแจ้งให้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวถัดไปทันที
“ภาษี” หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศ
“เงินทุนสำรอง” หมายถึง จำนวนเงินที่บริษัทจัดสรรจากกำไรไว้เป็นทุนสำรองตามนัย มาตรา 1202 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
“เงินทุนหมุนเวียน” หมายถึง เงินทุนที่บริษัทต้องมีสำรองไว้ใช้หมุนเวียน ตั้งแต่บริษัทเริ่มจ่ายเงินสดในการชำระค่าสินค้า/วัตถุดิบหรือชำระหนี้คืนเจ้าหนี้การค้า และจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่างๆ จนกว่าบริษัทจะได้รับเงินสดจากการขายสินค้าหรือบริการ หรือรับชำระเงินจากลูกหนี้การค้า (โดยไม่นับรวมถึงการซื้อสินทรัพย์ เช่น อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น) เพื่อให้กิจการสามารถขายสินค้าและบริการได้ตามเป้าหมาย
3. นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัท อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นกับกระแสเงินสด แผนการลงทุน เงื่อนไขทางกฎหมาย โดยบริษัทคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ในอนาคต และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่าง มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ มติคณะกรรมการของบริษัทที่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้หากเห็นว่ามีความเหมาะสมและ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท และจะต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวถัดไป
นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย
นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยให้แก่ผู้ถือหุ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัทย่อย อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นกับกระแสเงินสด แผนการลงทุน เงื่อนไขทางกฎหมาย โดยบริษัทย่อยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ในอนาคต และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทย่อยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ มติคณะกรรมการบริษัทย่อยที่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย เพื่อขออนุมัติ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทย่อยมีอำนาจในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้หากเห็นว่ามีความเหมาะสมและไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทย่อยและจะต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ ในการประชุมคราวถัดไป ทั้งนี้ ในข้อบังคับบริษัทย่อยยังมีการกำหนดให้กรณีที่บริษัทย่อยจะจ่ายเงินปันผลต่ำกว่านโยบายการจ่ายเงินปันผลที่กำหนดไว้ บริษัทย่อยจะต้องเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทใหญ่”) เสียก่อน จึงจะสามารถพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทย่อยหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย (แล้วแต่กรณี)
Copyright © 2016 – 2022 Ornsirin Group โครงการคุณภาพสำหรับคุณ. All Rights Reserved.
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยอันเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ กลุ่มบริษัทอรสิรินจำกัด (บริษัทฯ) ได้เห็นความสำคัญของความเป็นส่วนตัวของกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลากรและลูกค้า รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่านได้ทราบถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท บริษัทจึงได้ประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้คือ
2. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.1 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
ใช้บังคับในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญาที่มีบริษัทเป็นคู่สัญญา และให้รวมไปถึงข้อมูลที่บริษัทได้รับมาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยบริษัทจะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย และจะดำเนินการปฏิบัติเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นหลักสำคัญโดยวิธีการอันเปิดเผย และเป็นธรรม ซึ่งการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทจะดำเนินการภายใต้ความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และจะดำเนินการเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การให้บริการภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้คือ:-
2.1.1 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล , พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน , ประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา , ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา รวมไปถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
2.1.3 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งการขอความยินยอมไม่อาจกระทำได้ในเวลานั้น
2.1.4 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท
2.1.5 เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
2.1.6 เป็นการดำเนินการเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีฐานะเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น ๆ
2.1.7 เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปฏิบัติงานตามสัญญาเพื่อยื่นขออนุมัติจากสถาบันการเงิน
2.1.8 เป็นการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อการศึกษา วิจัย การจัดทำสถิติ ซึ่งได้จัดให้มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
2.2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายใต้มาตราการป้องกัน โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวบริษัทจะใช้เพื่อการติดต่อและเสนอบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อยื่นข้อเสนออื่น ๆ อันเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทหรือบริษัทภายในเครือ และใช้เพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และจดหมายข่าวต่าง ๆ ให้กับเจ้าของข้อมูลได้รับทราบและบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคคลไว้ภายใต้มาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลากรของบริษัทปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และจะดำเนินการป้องกันมิให้ข้อมูลสูญหาย หรือถูกนำไปเปิดเผยโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูล หรือนำไปหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยเด็ดขาด
2.3 สิทธิและความประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของข้อมูล
บริษัทจะเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคล หรือยินยอมให้มีการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัททำการเก็บรักษาไว้ก็ต่อเมื่อบริษัทได้รับการแจ้งความประสงค์มาจากเจ้าของข้อมูล ผู้สืบสิทธิ ทายาทตามกฎหมาย ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย โดยผู้ขอเปิดเผยสามารถแจ้งความประสงค์มาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือมายังบริษัทพร้อมกับเอกสารแสดงสิทธิที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
2.4 ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ ไว้ตามกำหนดระยะเวลาการใช้งานข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความประสงค์ให้บริษัททำการโอน ลบ หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ เสีย เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะแจ้งให้บริษัททราบทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งมายังบริษัทโดยทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งบริษัทจะดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินงานภายในบริษัท
3. มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท
บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจึงกำหนดให้มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไขหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
3.1 ด้านหลักเกณฑ์ทั่วไปของบริษัท
3.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้รับมาจากทางสื่อออนไลน์ หรือจากการทำสัญญาต่าง ๆ เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลอื่นใดอันสามารถบ่งบอกตัวตนของบุคคลได้ จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงไว้กับบริษัท และบริษัทจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าว
3.1.2 หากบริษัทเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและขอความยินยอมทุกครั้งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือประกาศในเว็บไซต์ของบริษัทไม่น้อยกว่า 30 วัน
พร้อมกันนี้บริษัทจะวางมาตรการกำหนดให้มีการบันทึกการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ไว้เป็นหลักฐานด้วย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น
3.1.3 บริษัทจะทำการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายในฐานข้อมูลของบริษัท ทั้งนี้เพียงเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามสัญญาและการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น และเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้พ้นระยะเวลาการใช้งานไปแล้ว หรือได้พ้นระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลประจำหน่วนงานไปแล้ว บริษัทจะทำการลบและทำลายข้อมูลดังกล่าวตามมาตรการและแนวปฏิบัติที่บริษัทได้วางไว้
3.1.4 ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลอันเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บไว้ภายในบริษัท บริษัทจะควบคุมการดำเนินการของหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกนั้น ๆ โดยเคร่งครัด และวางมาตรการป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด