องค์ประกอบและการสรรหาคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการอิสระ และคณะกรรมการตรวจสอบ
การคัดเลือกบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทฯนั้นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ. 2535 และตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ ทจ. 28/2551 เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ รวมทั้งพิจารณาจากปัจจัยในด้านอื่นๆ มาประกอบกัน เช่น ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ความเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ วิสัยทัศน์ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนประวัติการทำงานที่โปร่งใส เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนดังต่อไปนี้
องค์ประกอบและการสรรหาคณะกรรมการบริษัท
สำหรับการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทฯไม่ได้ผ่านการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา การสรรหากรรมการเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 และตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายทีเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังพิจารณาคัดเลือกกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีพื้นฐานและความเชี่ยวชาญจากหลากหลายด้านซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานของบริษัทฯในการให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ในมุมมองของผู้ที่มีประสบการณ์ตรง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณธรรมและจริยธรรม มีประวัติการทำงานที่โปร่งใส และมีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ จากนั้นจึงนำรายชื่อเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรและกรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนทั้งหมดจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และในจำนวนคณะกรรมการบริษัททั้งหมดต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัทฯ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะออกไม่อาจแบ่งให้ตรงเป็นจำนวนได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้เคียงที่สุดกับสัดส่วน 1 ใน 3 กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับเลือกเข้ารับตำแหน่งอีกก็ได้ กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทฯนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนในปีหลังๆต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่ออกตามวาระนั้นอาจถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ได้
กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้กรรมการเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติมหาชน พ.ศ. 2535 และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือน้อยกว่า 2 เดือน บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทนและต้องได้รับมติของคณะกรรมการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการที่ยังเหลืออยู่
องค์ประกอบและการสรรหาคณะกรรมการอิสระ และคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทจะร่วมกันพิจารณาเบื้องต้นถึงคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการตามพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาคัดเลือกกรรมการอิสระจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์การทำงาน และความเหมาะสมด้านอื่นๆ ประกอบกัน จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯต่อไป ทั้งนี้บริษัทฯมีนโยบายแต่งตั้งกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัทฯแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท
บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (“บริษัทฯ”) ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำกับดูแลกิจการ นอกจากคณะกรรมการบริษัทจะต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับบริษัทตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (“พ.ร.บ.บริษัทมหาชนฯ”) ตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ”) และตามข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายในการกำกับดูแลกิจการเพื่อที่จะเน้นถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
คณะกรรมการของบริษัท ต้องมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารไม่ได้แยกจากกันอย่างชัดเจน เช่น ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน (ยกเว้นการเป็นคู่สมรสหรือบุตรตามข้อห้ามในวรรคก่อนหน้า) หรือประธานกรรมการบริษัทเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริหาร หรือคณะทำงาน หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการบริหาร (หมายความรวมถึงการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามที่ระบุในเอกสารหนังสือรับรองบริษัท) คณะกรรมการบริษัทจะส่งเสริมให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ โดยพิจารณาดำเนินการตามหลักการใดหลักการหนึ่ง ดังนี้
ทั้งนี้ การมอบอำนาจตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้คณะกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว จะสามารถพิจารณาและอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดทำกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาและอนุมัติไว้แล้ว
ในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือบุคคลอื่นปฏิบัติการแทนคณะกรรมการบริษัทในเรื่องใด การมอบหมายดังกล่าวต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกเป็นมติคณะกรรมการบริษัทในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน และระบุขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้รับมอบหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ การมอบอำนาจนั้น ต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้บุคคลดังกล่าว จะสามารถพิจารณาและอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใด
ที่จะทำขึ้นกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการธุรกิจปกติ และเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป หรือเป็นตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาและอนุมัติไว้แล้ว โดยอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามที่กำหนดเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญ ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุน และ/หรือประกาศอื่นใดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการบริษัทจะจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นข้อมูลประกอบความเห็นของคณะกรรมการบริษัท เพื่อรายงานการทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี โดยเปิดเผยรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท จะจัดให้มีขึ้นทุกปี โดยมีการแบ่งการประเมินออกเป็นสอง ประเภท คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเป็นรายบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นข้อมูลประกอบความเห็นของคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทจะทบทวนกฎบัตรนี้ทุกปี และจะดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับ ความถูกต้องของรายงานทางการเงิน ประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักจรรยาบรรณต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทและบริษัทย่อยของบริษัทเกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่ในการสอบทานความเพียงพอและความมีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทและบริษัทย่อยของบริษัท รวมทั้งรับผิดชอบในการจัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และนำเสนอในรายงาน ประจำปีของบริษัทเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการตรวจสอบ ต้องมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทหรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการตีความ ตามข้อ 2.8 และ ข้อ 2.9 คำว่า “หุ้นส่วน” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานสอบบัญชี หรือผู้ให้บริการทางวิชาชีพ ให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อ ในรายงานการสอบบัญชี หรือรายงานการให้บริการทางวิชาชีพ (แล้วแต่กรณี) ในนามของนิติบุคคลนั้น
ในกรณีที่บุคคลที่บริษัทแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบเป็นบุคคลที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าที่กำหนดตามวรรคหนึ่งของข้อ 2.8. หรือ 2.9. ให้บริษัทได้รับการผ่อนผันข้อห้ามการมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าดังกล่าว ก็ต่อเมื่อบริษัทได้จัดให้มีความเห็นคณะกรรมการบริษัทฯที่แสดงว่าได้พิจารณาตามหลักในมาตรา 89/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งฉบับที่แก้ไข) แล้วว่า การแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบด้วย
(1) ลักษณะความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ ที่ทำให้บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
(2) เหตุผลและความจำเป็นที่ยังคงหรือแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการตรวจสอบ
(3) ความเห็นของคณะกรรมการของบริษัทฯในการเสนอให้มีการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ
ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบลาออกก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง กรรมการตรวจสอบควรแจ้งต่อบริษัทฯ ล่วงหน้า 1 เดือน พร้อมเหตุผล เพื่อคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าดำรงตำแหน่งแทน ให้บริษัทฯ แจ้งการลาออกพร้อมส่งสำเนาหนังสือลาออกให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบด้วย
หากคณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทถึงสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน และได้มีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารแล้วว่าต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อครบกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกัน หากคณะกรรมการตรวจสอบพบว่ามีการเพิกเฉยต่อการดำเนินการแก้ไขดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กรรมการตรวจสอบ
ท่านใดท่านหนึ่งหรือคณะกรรมการตรวจสอบ อาจรายงานสิ่งที่พบดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน้าที่อื่นใดที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบจะมีความสำคัญต่อคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป เนื่องจากรายงานดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระและตรงไปตรงมาของคณะกรรมการตรวจสอบ และทำให้คณะกรรมการบริษัท มั่นใจได้ว่าฝ่ายจัดการได้มีการบริหารงานอย่างระมัดระวังและคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำอย่างเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่คณะกรรมการบริษัท จะได้ทราบถึงกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ
รายงานกิจกรรมที่ทำระหว่างปี ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ โดยประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ จะจัดให้มีขึ้นทุกปี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ
จะจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นข้อมูลประกอบความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานต่อ
ผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
คณะกรรมการตรวจสอบจะทบทวนกฎบัตรนี้ทุกปี และจะเสนอแนะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทในการกำหนดนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร รวมทั้งกำกับดูแลให้มีระบบหรือกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อยอย่างเหมาะสม
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต้องมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้นโยบายการบริหารความเสี่ยงข้างต้นมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
ในการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงนั้นฝ่ายจัดการจะเป็นผู้รับผิดชอบและกำหนดนโยบายในการระบุความเสี่ยงและประเมินระดับของความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และมีมาตรการในการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้รวมถึงติดตามผลและการรายงานสถานะความเสี่ยงโดยครอบคลุมการทบทวนความเพียงพอและความมีประสิทธิภาพของมาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่ากรณีที่เกิดเหตุขึ้นจะสามารถจัดการความเสี่ยงได้ทันท่วงที
ในการเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายส่งหนังสือนัดประชุม หรือส่งมอบให้แก่กรรมการบริหารความเสี่ยงโดยตรงพร้อมทั้งระบุวัน เวลา สถานที่ และกิจการที่จะประชุมไปยังกรรมการ ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม เว้นแต่กรณีจําเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิ หรือประโยชน์ของบริษัทฯ จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นหรือกําหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต้องประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี และรายงานปัญหาอุปสรรคที่เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ (ถ้ามี) เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะทบทวนกฎบัตรนี้ทุกปี และจะเสนอแนะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
กฎบัตรของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมหลักการกำกับดูแลกิจการ ที่ดี โดยรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูง และพิจารณาค่าตอบแทนสำหรับกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งยังทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทในการกำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ และกำหนดแนวปฏิบัติในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับของบริษัทฯ ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการบริหารกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. คุณสมบัติของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
2.1 กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลต้องเป็นกรรมการบริษัท โดยที่ไม่เป็นประธานกรรมการบริษัท
2.2 กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและมีเวลาเพียงพอที่จะอุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทฯ อย่างเต็มที่
3. การแต่งตั้งกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล และวาระการดำรงตำแหน่ง
3.1. คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และให้เป็นไปตามวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
3.2. กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่อีกได้
3.3. คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลตามกฎบัตรฉบับนี้
3.4. ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่
3.5. การลาออกของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ให้ยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทดแทนบุคคลที่ลาออก
3.6. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลว่างลงซึ่งจะส่งผลให้มีจำนวนกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลต่ำกว่า 3 คน ให้คณะกรรมการบริษัท เลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและต้องเป็นไปตามองค์ประกอบเข้าเป็นกรรมการแทน ให้มีจำนวนครบถ้วนในทันทีหรืออย่างช้าภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีจำนวนกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลไม่ครบถ้วนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล โดยจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนเข้ามาแทน
4. หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
4.1 ด้านการสรรหา
(1) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารสูงสุด โดยพิจารณาความเหมาะสมของจำนวน โครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อยและผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณีรวมทั้งเปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ และนโยบายในการสรรหาให้ทราบเพื่อความโปร่งใส
(2) พิจารณาสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารสูงสุด เมื่อถึงวาระที่จะต้องเสนอชื่อกรรมการให้แก่คณะกรรมการบริษัทพิจารณา โดยการสรรหาอาจพิจารณาจากกรรมการเดิมให้ดำรงตำแหน่งต่อ หรือเปิดรับการเสนอชื่อจากผู้ถือหุ้น หรือการใช้บริษัทภายนอกช่วยสรรหา หรือพิจารณาจากบุคคลจากทำเนียบกรรมการอาชีพ หรือการให้กรรมการแต่ละคนเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม เป็นต้น
(3) พิจารณารายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้
(4) ตรวจสอบว่าบุคคลที่จะถูกเสนอชื่อนั้นมีคุณสมบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) ดำเนินการทาบทามบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลดังกล่าวมีความยินดีที่จะมารับตำแหน่งกรรมการของบริษัทหากได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น
(6) เสนอชื่อให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาและบรรจุชื่อในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ที่ประชุม ผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง
(7) พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
(8) พิจารณาโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบ และกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อยให้มีความเหมาะสมกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(9) ดูแลการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) เพื่อเป็นการเตรียมสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง ในกรณีที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือผู้บริหารระดับสูงเกษียณอายุ ลาออก หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพื่อให้การบริหารงานของบริษัทฯ สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลจะรายงานผลการดำเนินงานตามแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบเป็นระยะ ๆ ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงกำกับดูแลให้กิจการมีการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีจำนวน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม
(10) ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูง เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไป
(11) ทบทวนและสรุปผลการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งและความต่อเนื่องในการบริหารที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำทุกปีและรายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ
(12) พิจารณาความเป็นอิสระของกรรมการอิสระแต่ละคน เพื่อให้แน่ใจว่ากรรมการอิสระของบริษัทฯ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
(13) ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล เสนอชื่อกรรมการที่พ้นวาระกลับเข้าดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลจะพิจารณา ผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรายดังกล่าว และควรนำเสนอ ผลการปฏิบัติหน้าที่ ผลงาน (Contribution) รวมทั้งประวัติการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
(14) พิจารณารูปแบบและจัดทำแผนการพัฒนากรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ เพื่อพัฒนาความรู้ของทั้งบุคลากรชุดปัจจุบันและที่เข้าใหม่ให้เข้าใจธุรกิจของบริษัทฯ บทบาทหน้าที่ และพัฒนาการต่างๆ ที่สำคัญ เช่น สภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เป็นต้น
(15) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
4.2 ด้านการพิจารณาค่าตอบแทน
(1) พิจารณาหลักเกณฑ์และนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี เพื่อให้มีความเหมาะสมโดยทบทวนความเหมาะสมของเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับบริษัทฯ และกำหนดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลงานตามที่คาดหวัง ให้มีความเป็นธรรม และเป็นการตอบแทนบุคคลที่ช่วยให้งานของบริษัทฯ ประสบผลสำเร็จ
(2) กำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนทุกประเภท เช่น ค่าตอบแทนประจำ ค่าตอบแทนตามผลการดำเนินงาน และค่าเบี้ยประชุม ทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูงเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติที่อุตสาหกรรมเดียวกันใช้อยู่ ผลประกอบการและขนาดของธุรกิจของบริษัทฯ และความรับผิดชอบ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทฯ ต้องการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติแล้วแต่กรณี
(3) รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท และมีหน้าที่ให้คำชี้แจง ตอบคำถามเกี่ยวกับค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(4) ทบทวนความเหมาะสมของหลักเกณฑ์และนโยบายในการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูงตามสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไป
(5) รายงานนโยบาย หลักการ/เหตุผลของการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท
(6) จัดทำนโยบายและหลักเกณฑ์ในการประเมินผลงานของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อและผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิจารณาผลตอบแทนประจำปี และนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(7) เปิดเผยนโยบายและหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นและจัดทำรายงานการกำหนดค่าตอบแทนดังกล่าวไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
(8) พิจารณาความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ให้กรรมการและพนักงาน โดยยึดหลักให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น และสร้างแรงจูงใจให้กรรมการและพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้นในระยะยาวและสามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพได้อย่างแท้จริง
(9) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลมีหน้าที่ทบทวนและเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแก้ไขขอบเขตอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์
4.3 ด้านธรรมาภิบาล
(1) กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการดำเนินงานที่สำคัญและเกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ด้านบริหารความยั่งยืน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ให้สอดคล้องกับหลักการ มาตรฐาน และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
(2) กำหนดแนวทาง ตลอดจนกำกับดูแลและติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้
(3) กำกับดูแลให้คำปรึกษา ประเมินผล และทบทวนนโยบายการปฏิบัติตามหลักการธรรมาภิบาลที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบธรรมาภิบาลของบริษัทฯ
(4) จัดทำรายงานกำกับดูแลกิจการ และผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทน และธรรมาภิบาล ต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำโดยเปิดเผยไว้ ในรายงานประจำปีของบริษัท และลงนามโดยประธานคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทน และ ธรรมาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
5. การประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
5.1 คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลควรจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
5.2 ให้ประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล หรือกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลเป็นผู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่ ในการประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ซึ่งสถานที่ที่ประชุมนั้นอาจกําหนดเป็นอย่างอื่น นอกเหนือไปจากท้องที่อันเป็นที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทฯ หรือจังหวัดใกล้เคียงก็ได้ หากประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล หรือกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลที่ได้รับมอบหมาย มิได้กําหนดสถานที่ประชุมให้ใช้สถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทฯ เป็นสถานที่ประชุม
ในการเรียกประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลให้ประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายส่งหนังสือนัดประชุม หรือส่งมอบให้แก่กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลโดยตรงพร้อมทั้งระบุวัน เวลา สถานที่ และกิจการที่จะประชุมไปยังกรรมการ ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม เว้นแต่กรณีจําเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิ หรือประโยชน์ของบริษัทฯ จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นหรือกําหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
5.3 กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ทุกคนควรเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลทุกครั้ง และในการประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
5.4 ประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล อาจเรียกประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล เป็นกรณีพิเศษได้หากมีการร้องขอจากกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล หรือประธานกรรมการบริษัทฯ ให้พิจารณาระเบียบวาระที่จำเป็นต้องหารือร่วมกัน
5.5 ให้ประธานคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลเป็นประธานที่ประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล ไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
5.6 มติที่ประชุมของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลจะถือตามเสียงข้างมากของกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลที่เข้าร่วมประชุม กรณีเสียงเท่ากันให้ประธานคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลเป็นผู้ชี้ขาด หากมีกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลคัดค้านมติดังกล่าว ให้บันทึกคำคัดค้านของกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลคนดังกล่าวไว้ในรายงานการประชุม ทั้งนี้ กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทน และธรรมาภิบาล ที่มีส่วนได้เสียใดๆ ในเรื่องที่พิจารณา จะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็น และไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้นๆ
5.7 กรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล สามารถเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทน และ ธรรมาภิบาล ให้เข้าร่วมประชุม หารือ ชี้แจง หรือตอบข้อซักถามได้
5.8 เลขานุการคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล โดยการประชุมแต่ละครั้งมีการกำหนดวัน เวลา สถานที่และวาระการประชุมอย่างชัดเจนและจัดส่งเอกสารประกอบการประชุมให้คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล และผู้เข้าร่วมประชุมเป็นการล่วงหน้าด้วยระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือเรียกขอข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
5.9 เลขานุการคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล เป็นผู้จดบันทึกรายงานการประชุม ซึ่งรายงานการประชุมดังกล่าวต้องนำส่งคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล และกรรมการบริษัท ที่เข้าร่วมประชุม ภายใน 7 วันหลังจากวันประชุมเพื่อคณะกรรมการบริษัทจะได้ทราบถึงกิจกรรมของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลอย่างสม่ำเสมอ
6. การรายงานของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
6.1 คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทให้ทราบผลการประชุมหรือในสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือเรื่องอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทควรทราบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งถัดไป
6.2 ให้ประธานคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล รายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงกิจกรรมที่ได้ทำระหว่างปี ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและ ธรรมาภิบาล และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
7. การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาล
คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลต้องประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี และรายงานปัญหาอุปสรรคที่เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ (ถ้ามี) เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
8. การทบทวนและปรับปรุงกฎบัตร
คณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและธรรมาภิบาลจะทบทวนกฎบัตรนี้ทุกปี และจะเสนอแนะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
กฎบัตรการตรวจสอบภายใน
กฎบัตรนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ฝ่ายบริหารและหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ด้วยการให้ความเชื่อมั่น และให้คำปรึกษาแนะนำอย่างเป็นอิสระ และเที่ยงธรรมมุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ขอบเขต ความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ และการปฏิบัติงานต่างๆ ของสำนักตรวจสอบภายใน จึงได้จัดทำกฎบัตรขึ้น ดังนี้
ภารกิจ (Mission)
การตรวจสอบภายในมีภารกิจในการให้คำปรึกษา(Consulting)และการให้ความเชื่อมั่น(Assurance) อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าขององค์กร และปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของบริษัท การตรวจสอบภายในมีส่วนช่วยให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) ของบริษัทโดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน
สายการบังคับบัญชา
ขอบเขตการปฏิบัติงาน
การตรวจสอบภายในมีขอบเขตการปฏิบัติงาน (Scope of Work) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และกระบวนการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ได้จัดให้มีขึ้นอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ในเรื่องดังนี้
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ผู้ตรวจสอบภายในรับผิดชอบงานด้านตรวจสอบภายในของบริษัท ตามข้อกำหนดและนโยบายของบริษัท รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และสรุปผลการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารทราบ โดยทำหน้าที่รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายใน และระบบบริหารความเสี่ยง รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การดำเนินการปรับปรุงระบบงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้รับตรวจ โดยมีรายละเอียดของหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
อำนาจในการตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบภายในได้รับอนุมัติและมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล ระบบงาน และบุคลากรของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตรวจสอบตามความจำเป็นและเหมาะสม และผู้บริหารทุกระดับขององค์กรมีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในบรรลุตามหน้าที่ วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท เอกสารและข้อมูลใดๆซึ่งตรวจสอบได้มาหรือรับรู้จากการตรวจสอบจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับและไม่เปิดเผยแก่บุคคลอื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือบังคับให้ต้องเปิดเผย
ผู้ตรวจสอบภายในไม่ควรได้รับมอบหมายให้ไปช่วยปฏิบัติงานอื่นที่ไม่ใช่งานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบ เพื่อให้ความเชื่อมั่นในกิจกรรมที่ตน(ผู้ตรวจสอบภายใน)เคยทำหน้าที่บริหาร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในระยะเวลา 1 ปีก่อนการตรวจสอบ และในกิจกรรมใดๆที่ผู้อำนวยการตรวจสอบเห็นว่ามีผลกระทบต่อความเป็นอิสระ และความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน
มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพ
การปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ที่สมาคมผู้ตรวจสอบภายในกำหนด รวมถึงต้องยึดมั่นในจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในอย่างเคร่งครัด
การพัฒนาคุณภาพบุคลากร
การปฏิบัติงานตรวจสอบ
การรายงานผลการตรวจสอบ
เนื้อหาของรายงานการตรวจสอบ จะครอบคลุมถึงเรื่อง วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ ขอบเขตของการตรวจสอบ ข้อมูลพื้นฐานของกิจกรรมที่ตรวจสอบ ผลการตรวจสอบ แนวทางปรับปรุงแก้ไขของผู้รับการตรวจสอบ ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ และความเห็นของผู้รับการตรวจสอบ โดยเสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทราบ สำหรับสรุปผลการตรวจสอบ เสนอต่อหน่วยงานผู้รับตรวจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อทราบ
ผู้ตรวจสอบภายในจะติดตามผลการตรวจสอบและการปฏิบัติของผู้รับตรวจตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขนั้น ฝ่ายบริหารได้นำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล หรือผู้บริหารระดับสูงได้ยอมรับความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ โดยรายงานผลการติดตามให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ
กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จำกัด (“บริษัทฯ”) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารในการบริหารกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ที่ได้กำหนดไว้ จึงได้กำหนดกฎบัตรคณะกรรมการบริหารเพื่อให้คณะกรรมการบริหารมีการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และหลักจรรยาบรรณต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการบริหารตามกฎบัตรฉบับนี้
(4) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง และกฎหมายต่างๆ รวมถึง กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศอื่นใด กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือมติที่ประชุม ผู้ถือหุ้นของบริษัท นอกจากนั้นให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองข้อพิจารณาต่างๆ ที่จะได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติและ/หรือพิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือคำสั่งของคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนการดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการบริษัทเป็นคราวๆ ไป นอกจากนั้นให้มีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่กระทำการเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ภายในขอบเขตที่ได้กำหนดไว้เป็นเรื่องๆ ดังนี้
(1) รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ รายไตรมาส ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีเกี่ยวกับงบการเงินของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงงบการเงิน ประจำปี และงบการเงิน รายไตรมาส ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(3) รายงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร
ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารนั้น จะไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารสามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นลักษณะการดำเนินธุรกรรมที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติไว้ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือกฎหมายอื่นใดในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารจะจัดให้มีขึ้นทุกปี โดยคณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารทั้งคณะ
คณะกรรมการบริหารจะทบทวนกฎบัตรนี้ทุกปี และจะเสนอแนะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
Copyright © 2016 – 2022 Ornsirin Group Project, the quality for you. All Rights Reserved.
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยอันเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ กลุ่มบริษัทอรสิรินจำกัด (บริษัทฯ) ได้เห็นความสำคัญของความเป็นส่วนตัวของกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลากรและลูกค้า รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่านได้ทราบถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท บริษัทจึงได้ประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้คือ
2. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.1 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
ใช้บังคับในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญาที่มีบริษัทเป็นคู่สัญญา และให้รวมไปถึงข้อมูลที่บริษัทได้รับมาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยบริษัทจะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย และจะดำเนินการปฏิบัติเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นหลักสำคัญโดยวิธีการอันเปิดเผย และเป็นธรรม ซึ่งการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทจะดำเนินการภายใต้ความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และจะดำเนินการเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การให้บริการภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้คือ:-
2.1.1 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล , พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน , ประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา , ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา รวมไปถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
2.1.3 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งการขอความยินยอมไม่อาจกระทำได้ในเวลานั้น
2.1.4 เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท
2.1.5 เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
2.1.6 เป็นการดำเนินการเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีฐานะเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น ๆ
2.1.7 เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปฏิบัติงานตามสัญญาเพื่อยื่นขออนุมัติจากสถาบันการเงิน
2.1.8 เป็นการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อการศึกษา วิจัย การจัดทำสถิติ ซึ่งได้จัดให้มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
2.2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายใต้มาตราการป้องกัน โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวบริษัทจะใช้เพื่อการติดต่อและเสนอบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อยื่นข้อเสนออื่น ๆ อันเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทหรือบริษัทภายในเครือ และใช้เพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และจดหมายข่าวต่าง ๆ ให้กับเจ้าของข้อมูลได้รับทราบและบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคคลไว้ภายใต้มาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลากรของบริษัทปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และจะดำเนินการป้องกันมิให้ข้อมูลสูญหาย หรือถูกนำไปเปิดเผยโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูล หรือนำไปหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยเด็ดขาด
2.3 สิทธิและความประสงค์ของผู้เป็นเจ้าของข้อมูล
บริษัทจะเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคล หรือยินยอมให้มีการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัททำการเก็บรักษาไว้ก็ต่อเมื่อบริษัทได้รับการแจ้งความประสงค์มาจากเจ้าของข้อมูล ผู้สืบสิทธิ ทายาทตามกฎหมาย ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย โดยผู้ขอเปิดเผยสามารถแจ้งความประสงค์มาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือมายังบริษัทพร้อมกับเอกสารแสดงสิทธิที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
2.4 ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ ไว้ตามกำหนดระยะเวลาการใช้งานข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความประสงค์ให้บริษัททำการโอน ลบ หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ เสีย เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะแจ้งให้บริษัททราบทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งมายังบริษัทโดยทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งบริษัทจะดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินงานภายในบริษัท
3. มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท
บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจึงกำหนดให้มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไขหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
3.1 ด้านหลักเกณฑ์ทั่วไปของบริษัท
3.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้รับมาจากทางสื่อออนไลน์ หรือจากการทำสัญญาต่าง ๆ เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลอื่นใดอันสามารถบ่งบอกตัวตนของบุคคลได้ จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงไว้กับบริษัท และบริษัทจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าว
3.1.2 หากบริษัทเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและขอความยินยอมทุกครั้งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือประกาศในเว็บไซต์ของบริษัทไม่น้อยกว่า 30 วัน
พร้อมกันนี้บริษัทจะวางมาตรการกำหนดให้มีการบันทึกการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ไว้เป็นหลักฐานด้วย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น
3.1.3 บริษัทจะทำการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ภายในฐานข้อมูลของบริษัท ทั้งนี้เพียงเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามสัญญาและการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น และเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้พ้นระยะเวลาการใช้งานไปแล้ว หรือได้พ้นระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลประจำหน่วนงานไปแล้ว บริษัทจะทำการลบและทำลายข้อมูลดังกล่าวตามมาตรการและแนวปฏิบัติที่บริษัทได้วางไว้
3.1.4 ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลอันเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บไว้ภายในบริษัท บริษัทจะควบคุมการดำเนินการของหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกนั้น ๆ โดยเคร่งครัด และวางมาตรการป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด